fbpx

Read to Learn ตอน What to do when I read เวลาอ่านเพื่อเรียนภาษา ต้องทำยังไงบ้าง

Share This Post

Share on email
Share on facebook
Share on twitter

Read to Learn ตอน What to do when I read 

อย่างแรกที่ต้องตระหนักไว้เลยคือว่า ถ้าขี้เกียจเรียนเพิ่ม ขี้เกียจเปิดศัพท์ ท่องศัพท์ ก็ไม่ต้องทำค่ะ อ่านอย่างเดียวยังดีกว่าไม่อ่านเลย อันนี้บอกตรงๆ เพราะตอนวัยรุ่น รู้สึกผิดมากอยู่ที่เวลาอ่านหนังสือแล้วไม่ได้จดศัพท์ บางทีก็ข้ามไปเลย ก็เรื่องกำลังเข้มข้นนะเนาะ เราก็ขี้เกียจเปิดศัพท์​ โตมาถึงเข้าใจว่า จริงๆก็อ่านไปเถอะค่ะ ถึงไม่ได้ตั้งใจเรียนศัพท์อะไร เราก็ได้ภาษาได้ศัพท์มาโดยไม่ได้ตั้งใจอยู่แล้ว ดีกว่าไม่อ่านเลย

แต่ถ้าเมื่อไหร่ที่เราไม่ขี้เกียจหรือไม่เหนื่อยเกินไป เรามาตั้งใจmaximizeสิ่งที่เราเรียนรู้จากการอ่านมันก็ดีค่ะ

อย่างนึงที่เรียนรู้ได้ง่ายจากการอ่านก็คือ คำศัพท์​

Don’t

Don’t look up every word อย่าเด็ดขาด ไม่มีใครทนได้หรอกค่ะ ถ้าเปิดศัพท์ที่ไม่รู้ทุกคำ ก็เลิกอ่านตั้งแต่ยังไม่จบหน้าหนึ่งนั่นแหละ ถ้าเราอยากจะรู้ศัพท์​ ก็เลือกเอาแต่อันที่สำคัญๆก่อน วิธีที่ครูม่อนใช้ก็คือ อ่านไปเลยค่ะ คำไหนไม่รู้ก็ข้ามไปก่อน พอเจอคำเดิม สักสามสี่รอบ ค่อยเปิดหาความหมาย  อันนี้เป็นcriteriaที่ง่าย คือ ถ้าคำไหนเจอบ่อย ก็คือสำคัญใช่ไหมคะ ก็เอาแค่คำพวกนี้ก่อนแหละ

คำบางคำมันไม่ได้มีผลต่อการเข้าใจเนื้อเรื่องเท่าไหร่ เช่นพวกคำadjective ที่ใช้บรรยาย  ก็ไม่ใช่ว่าในชีวิตนี้เราจะไม่เรียนคำพวกนี้เลยนะ แต่ว่าเรียนภาษามันต้องค่อยๆเป็นค่อยๆไป เรียนคำที่สำคัญต่อcomprehensionก่อน ที่เหลือค่อยเรียนทีหลังก็ยังไม่สายค่ะ อย่าลืมว่า เรียนรู้นิดหน่อย ยังดีกว่าไม่เรียนรู้อะไรเลยนะคะ

Don’t use English-Thai dictionary (except learning concrete nouns)  อย่าใช้พจนานุกรม อังกฤษ-ไทยนะคะ ครูม่อนผ่านมาแล้วค่ะ ถ้าพจนานุกรมสองภาษา ยิ่งอ่านยิ่งงง เพราะว่าคำภาษาอังกฤษคำนึงแปลเป็นไทยได้หลายอย่าง งงค่ะ ใช้ English-English dictionaryดีกว่า แต่มีข้อยกเว้นคือ ถ้าเราต้องการหาความหมายของคำที่เป็นconcrete nounคือเป็นคำนามกล่าวถึงอะไรที่เป็นชิ้นเป็นอัน เช่น ชนิดของต้นไม้ ชนิดของอาวุธ อะไรพวกนี้ ใช้English-Thai dictionary อาจจะช่วยได้มากกว่า เพราะว่าอ่าน English definition ก็ไม่ค่อยช่วยให้เข้าใจนะคะ บางทีเปิดความหมายภาษาไทยก็ยังไม่เข้าใจเลย (เพราะว่าเราเองก็ไม่รู้ว่าภาษาไทยคำนี้หมายถึงอะไร) สิ่งที่ช่วยได้คือ googleค่ะ ดูรูปเลย เข้าใจง่ายสุด

After a few minutes of careful searching, I crouched in a cluster of snow-heavy brambles.

จาก Court of Thorns and Roses หน้า 2

สมมุตว่าเราไม่รู้ว่า bramble แปลว่าอะไร แต่ดูจากรูปประโยคแล้วน่าจะเป็นชื่อต้นไม้หรืออะไรที่ใกล้เคียง เราก็ไปเปิดEnglish-Thai dictionary

Bramble (n) พุ่มไม้มีหนาม

โอเค แค่นี้ก็เข้าใจแหละ แต่ว่าอาจจะยังนึกภาพไม่ชัด ก็ใช้กูเกิลช่วย

Screen Shot 2017-11-07 at 9.43.25 AM

ก็คือไม้พุ่มที่มีหนาม แล้วก็เป็นพุ่มที่เตี้ยๆหน่อย เช่น blackberry

กับadjective เราก็ใช้googleช่วยได้ ครูม่อนเคยอ่านหนังสือเจอคำว่า quaint แล้วไม่รู้ว่าแปลว่าอะไร เปิดดิกก็ได้ว่า

Quaint (adjective)

attractively unusual or old-fashioned: quaint country cottages | a quaint old custom.

อืม มันเก่า แล้วยังไงล่ะ เก่ามันก็มีหลายแบบใช่ไหม เลยใช้พี่กูเกิลช่วยอีกรอบ

Screen Shot 2017-11-07 at 9.46.40 AM

พอเห็นรูปคร่าวๆก็พอนึกออกล่ะ

ข้อควรระวังในการใช้พี่กูเกิลช่วยก็คือ อาจจะต้องดูหลายๆรูปประกอบกัน บางทีก็ต้องคลิกเข้าไปดูในรูปด้วยว่ามันใช่คำที่เราหาจริงหรือเปล่า จำง่ายๆคือ ให้ดูรูปหลายๆรูปที่ขึ้นมาจากการเสิร์ชแล้วดูภาพรวมเอานะคะ

Do

Read for comprehension อ่านเน้นความเข้าใจเนื้อเรื่องเป็นหลัก  โดยเฉพาะเวลาอ่านตอนที่ภาษาเรายังไม่แข็งนัก อ่านเน้นเนื้อหาค่ะ เพราะอะไร ?  เพราะว่าเราไม่ได้ต้องการจะอ่านเพื่อเรียนภาษาจากแค่หนังสือเล่มนี้เล่มเดียว เป้าหมายเราคือปลูกฝังให้ตัวเราเองชอบอ่านหนังสือภาษาอังกฤษ ซึ่งคนเราจะชอบทำอะไรเป็นนิสัยได้ มันต้องสนุกค่ะ  คิดดูว่าถ้าเราเรียนศัพท์ได้ 1000 คำจากหนังสือเล่มนี้ แต่กว่าจะอ่านจบเหนื่อยมาก ทำให้เข็ดไม่อ่านอีกเลย เราก็ได้แค่ 1000คำนี้ใช่ไหมคะ ดีไม่ดีลืมอีกต่างหาก แต่ถ้าเราอ่านให้สนุก เราอาจจะได้แค่ 200 คำ แต่เราชอบเราอ่านอีก ได้เห็นคำเดิมๆ หลายๆครั้ง เริ่มใช้เป็น แล้วก็เจอคำใหม่เพิ่ม รวมๆไปได้มากกว่า 1000 คำ แถมยังจำได้มากกว่า ใช้เป็นมากกว่าา จริงไหมคะ

Allow yourself to get something wrong อ่านแล้วสักพักเพิ่งรู้ว่า เราเข้าใจผิดนิน่า อันนี้ปกตินะคะ แม้แต่อ่านหนังสือภาษาไทยเราก็เป็นใช่ไหม ยิ่งตอนเนื้อเรื่องเข้มข้น ยิ่งอ่านเร็วๆ พอไปสักพักถึงรู้ว่าเข้าใจผิดตรงนี้ ช่างมันค่ะ เป็นเรื่องปกติ

Summarize or reflect  อ่านจบแล้ว ใช้เวลาสักหนึ่งนาที ถามตัวเองว่า What did I learn? How do I feel? อาจจะเขียนไว้เล็กๆ ท้ายเล่มก็ได้ (ถ้าหนังสือเป็นของเรานะ) ทำไมครูม่อนถึงแนะนำให้ทำคะ ก็เพราะว่า เวลาเพิ่งอ่านจบใหม่ๆ เราก็นึกว่าเราจะจำเนื้อเรื่องได้เนาะ แต่พอไปสักพัก ลืมเลยว่านี่เรื่องอะไร ถ้าเราreflectสักหน่อย จะทำให้เราจำได้ดีขึ้นค่ะ อีกอย่างคือ เวลาเราอ่านแล้วเราจำได้ว่า takeaway ของเล่มนี้คืออะไร มันจะทำให้เราอยากอ่านหนังสือมากขึ้น เพราะเรารู้สึกว่าเราอ่านแล้วได้อะไรมากกว่าความบันเทิงและภาษาอังกฤษ  เวลาreflectก็ไม่ต้องยาวนะคะ สั้นๆก็พอ เช่น

ครูม่อนเพิ่งอ่าน Everything, Everything by Nicholas Yoon จบ ก็ถามตัวเองว่า How do I feel? 

ครูม่อนก็จดไว้ว่า Limits are sometimes imposed by yourself and others  แค่นี้ก็พอค่ะ 

หรือ ตอนอ่านเรื่อง A Court of Mist and Fury By Sarah J. Maas แล้วก็ถามตัวเองว่า What did I get from reading this?

ครูม่อนก็จดไว้ว่า Everyone can be seen as either an angel or a devil depending on whose point of view คือ ทุกคนถูกมองว่าเป็นคนดีหรือคนชั่วก็ได้ มันขึ้นอยู่กับว่าใครมอง

ใครมีวิธีการเรียนภาษาอังกฤษจากการอ่าน มาแชร์กันได้นะคะ

More To Explore

หนังสือแนะนำสำหรับผู้เขียนธีสิสและวิทยานิพนธ์
เทคนิคการเรียน

หนังสือ แนะนำสำหรับผู้เขียนธีสิสและวิทยานิพนธ์

👉 ดาวน์โหลด eBook หนังสือเด็ดสำหรับเขียนธีสิสและวิทยานิพนธ์ หากใครที่กำลังมองหา หนังสือ ดีๆ สำหรับเป็น Guide ในการเขียนธีสิสหรือทำวิทยานิพนธ์อยู่หล่ะก็