fbpx

จำมากกว่าทางเดียวได้ผลดีกว่า (Dual Coding theory)

Share This Post

Share on email
Share on facebook
Share on twitter

วันนี้เรามาทำความรู้จักกับ coding กันค่ะ

Coding (n) ในด้านสมองคือการเอาข้อมูลเข้าไปใส่ในสมอง ยกตัวอย่างประโยค เช่น  The information is coded in the brain. แปลว่า ข้อมูลนี้ถูกบันทึกไว้ในสมอง

นักวิจัยพบว่าข้อมูลถูกบันทึกไว้ในสมองในแบบรูปภาพ (visual images) หรือ คำพูด (verbal units) หรือทั้งสองแบบค่ะ* นอกจากนี้นักวิจัยยังพบว่าข้อมูลที่ถูกบันทึกทั้งสองแบบ (visual images and verbal units) นั้นเป็นข้อมูลที่เรียนได้ง่ายที่สุด จึงเรียกทฤษฎีนี้ว่า dual coding theory (dual แปลว่า สอง)**

tesskou_paivio_dualcoding1

จากไดอะแกรมนี้จะเห็นได้ว่า ข้อมูลจะมาจากสองทาง คือ ภาพและคำพูด ซึ่งทั้งสองอย่างนี้ก็จะมาอยู่ใน working memory ซึ่งมีความสามารถจำกัด การที่ข้อมูลทั้งสองทาง คือ ภาพและคำพูดมาอยู่ด้วยกัน ก็จะเกิดการเชื่อมโยง (connection) ทำให้ข้อมูลนี้เข้าไปอยู่ในlong-term memory เป็นความรู้ (knowledge) ได้ง่ายขึ้น

เราจะเอาความรู้นี้มาช่วยในการเรียนภาษาได้อย่างไรบ้าง? ก็ง่ายๆเลยค่ะ เวลาจะจำอะไร เราก็ใช้ทั้งรูปภาพและคำพูดมาช่วยให้จำได้ง่ายขึ้น

ตัวอย่าง

เราไปอ่านเจอคำว่า quiant เราไม่รู้ความหมาย ก็ไปเปิดดู

Quaint (adj) ซึ่งมีเสน่ห์แบบโบราณๆ

Quaint (adj) attractively unusual or old-fashioned

เราก็ท่องไป แต่มันก็ยังไม่ชัดเจน ใช้google ช่วยหารูปเลยค่ะ

quaint

พอเห็นรูปปุ๊ป เราก็พอเข้าใจมากขึ้น ทีนี้เวลาท่องจำคำนี้ก็จะจำได้ง่ายขึ้นเยอะ

ปกติเวลาท่องศัพท์​เรามักจะท่องแค่ คำและความหมาย  ถ้าเราใช้รูปภาพมาช่วยด้วย จะทำให้เราจำได้ง่ายขึ้นเยอะเลยค่ะ แม้แต่ทุกวันนี้ครูม่อนเองก็ยังใช้วิธีนี้ เวลาอ่านเจอคำไหนไม่รู้ก็เปิดหาทั้งความหมายที่เป็นคำพูดหรือตัวหนังสือ และหารูปภาพค่ะ

References

*Paivio, A. (2006). Mind and its evolution; a dual coding theoretical interpretation. Mahwah, NJ: Erlbaum.

**Butcher, K. R. (2006). Learning from text with diagrams: Promoting mental model development and inference generation. Journal of Educational Psychology, 98, 182-197.

More To Explore