fbpx

อ่านสนุก จำได้แม่น

Share This Post

Share on email
Share on facebook
Share on twitter

ครูม่อนเชื่อมากๆว่าการอ่านช่วยให้เราเรียนภาษาอังกฤษได้ดี เพราะนอกจากจะได้เรียนภาษาอังกฤษแล้ว เรายังได้สนุกกับมันด้วย ถ้าอ่านหนังสือดีๆล่ะก็ เราไม่รู้สึกว่ากำลังเรียนภาษาอังกฤษอยู่เลย แต่เราสนุกไปกับเรื่องราวหรือเนื้อหาในหนังสือมากกว่า

แต่ครูม่อนมีวิธีเพิ่มเติมที่ช่วยให้อ่านแล้วเรียนภาษาได้เร็วขึ้น วิธีนี้คือการอ่านซ้ำค่ะ อย่าเพิ่งคิดว่าน่าเบื่อนะคะ วิธีนี้คือให้เลือกหนังสือหรือบทความที่เราอ่านแล้วชอบมาอ่านซ้ำอีกรอบ แต่รอบนี้ขณะที่อ่านให้จดvocab, phrases หรือ ประโยคที่เราสนใจจะเรียนไว้ แล้วไปเปิดดิกหรือgoogleดูความหมายและpronunciation อยากให้ลองเปิดกว้างมากกว่าจดแค่คำศัพท์ ให้หัดดูรูปประโยคด้วย และดูว่าใช้ในกรณีไหนบ้าง

ลองดูตัวอย่างของครูม่อนนะคะ อันนี้ครูม่อนเพิ่งเริ่มจดต้นเดือนนี้เอง (เพราะว่าไม่ว่าเราจะอยู่ในระดับไหน ก็เรียนรู้ได้เสมอนะคะ)  กดเข้าไปเพื่อดูรูปขนาดเต็มได้ค่ะ

20180130MyRereadNote

อีกอย่างคือ อย่าไปจริงจังมากจนเครียดค่ะ อันนี้ครูม่อนเขียนแค่สิบห้านาทีต่อวันเท่านั้นเอง ไม่ได้รีบร้อนอะไร พอไปอ่านเล่มอื่นๆก็เห็นได้ชัดเลยว่าตัวเองจำคำศัพท์และรูปประโยคได้เร็วจริงๆ เพราะพอไปเจออีกในการอ่านหนังสือเรื่องอื่นๆ มันเป็นการตอกย้ำให้short-term กลายเป็น long-term memories ค่ะ

ทำไมการตั้งใจจดคำศัพท์และรูปประโยคถึงทำให้เราสังเกตเห็นคำศัพท์ในหนังสือเล่มอื่นๆ?

เป็นเพราะว่าปกติแล้วคนเรามีworking memory จำกัด เพราะฉะนั้นเราจะมี selective attention  คือ เราจะให้ความสนใจเฉพาะสิ่งที่เราคิดว่าสำคัญหรือเป็นสิ่งที่เราตั้งใจมองหาเท่านั้น (ไม่งั้นสมองเราคงแย่นะคะถ้าต้องสนใจทุกอย่างที่อยู่รอบตัวเรา)

มีการทดลองที่มีชื่อเสียงมากในเรื่อง selective attention ลองดูนะคะ

การอ่านก็เหมือนกับในการทดลองค่ะ เรามักจะไม่เห็นคำที่เราไม่รู้ ข้ามไปเลย ทำให้เราเสียโอกาสในการเรียนคำนั้น แต่ถ้าเราตั้งใจจดสักครั้งนึง หลังจากนั้นสมองเราจะสังเกตเห็นเวลาที่คำนี้โผล่ขึ้นมาอีก ทำให้เราจำได้มากขึ้นค่ะ

More To Explore

หนังสือแนะนำสำหรับผู้เขียนธีสิสและวิทยานิพนธ์
เทคนิคการเรียน

หนังสือ แนะนำสำหรับผู้เขียนธีสิสและวิทยานิพนธ์

👉 ดาวน์โหลด eBook หนังสือเด็ดสำหรับเขียนธีสิสและวิทยานิพนธ์ หากใครที่กำลังมองหา หนังสือ ดีๆ สำหรับเป็น Guide ในการเขียนธีสิสหรือทำวิทยานิพนธ์อยู่หล่ะก็