fbpx

ทำไมต้องเรียนแบบท่องจำ?

Share This Post

Share on email
Share on facebook
Share on twitter

ใครเห็นหัวข้อบทความนี้ก็คงจะนึกว่า ม่อนจะเขียนวิจารณ์การเรียนแบบท่องจำว่าไม่ดีอย่างไร แต่กลับกันค่ะ ม่อนจะมาบอกว่ามันดีและจำเป็นอย่างไรต่างหาก

นักเรียนสมัยนี้(รวมถึงผู้ปกครองหลายๆคนด้วย) มักจะมองว่าการเรียนแบบท่องจำไม่ดี หรือน่าเบื่อ  ส่วนใหญ่เวลาบอกให้นักเรียนท่องอะไร จำอะไร ก็มักจะบ่นกันว่า จะให้ท่องไปทำไม ไม่เห็นจะมีประโยชน์อะไร  ที่คนเราคิดแบบนี้กันเยอะ ม่อนคิดว่าเพราะได้อิทธิพลมาจากการศึกษาของทางตะวันตกที่จะเน้นแบบ hands-on คือ เน้นแบบทำมากกว่าจำ  ซึ่งแบบแนวคิดที่น่าสนใจค่ะ แต่เวลาที่เรารับของเขามา เราก็มักจะมองไปว่าต้องตัดการท่องจำ ทิ้งไปเลย ซึ่งจริงๆแล้วทางตะวันตก เขาก็ไม่ได้อย่างนั้น หรือถ้าเป็นที่ที่ทำอย่างนั้น ตอนนี้เขาก็เริ่มเห็นแล้วค่ะว่า การไม่ท่องจำเลย มันเกิดผลเสียอย่างไร

ข้อมูลในปัจจุบันมีเยอะแยะมาก จำกันไม่หวาดไม่ไหว ตอนม่อนเป็นนักเรียนก็เคยสงสัยเหมือนกันว่าจะให้จำเรื่องพวกนี้ไปทำไม ในเมื่อถ้าเราอยากจะใช้ข้อมูลเมื่อไหร่ ค่อยค้นเอาอีกทีก็ได้  แต่คนเราจำเป็นต้องมีข้อมูลพื้นฐานอยู่ในสมองประมาณหนึ่ง ถึงจะคิดเป็นได้

เวลาสอนหนังสือ แล้วให้นักเรียนจำชนิดของเม็ดเลือดขาว (พวก neutrophil, basophil, eosinophil, monocyte, lymphocyte)  นักเรียนหลายๆคนก็จะบ่นว่าจะให้จำไปทำไม อยากรู้ก็เปิดเอา  แต่ว่าถ้าต่อไปเราจะไปวิเคราะห์ว่าผู้ป่วยคนนี้เป็นโรคอะไร ต้องให้รักษาอย่างไร เราก็ต้องรู้เรื่องพวกนี้เป็นส่วนประกอบ เพื่อทำให้เราคิดขั้นนั้นได้  ม่อนจะชอบให้นักเรียนลองนึกถึง ตอนเราท่อง ก ไก่ ข ไข่  ถ้าเราท่องไม่ได้ เราก็ไม่มีวันสะกดคำได้ แล้วอ่านหนังสือออก  การท่องชนิดเม็ดเลือด ก็เหมือนการท่องbuilding block ของการเรียนชีววิทยาต่อไปในอนาคต

การที่คนเราจะคิดเป็น คิดอะไรสร้างสรรค์ได้

ความจำ

ความจำดีนี้มักสร้างนักปราชญ์
คนฉลาดจำแม่นแสนเหมาะเหม็ง
คนขี้ลืมถึงฉลาดขาดจำเอง
มัวแต่เพ่งเพียรจดก็หมดดี
ตู้สมุดไม่บอกออกมาได้
ว่าอะไรอยู่ไหนให้ถ้วนถี่
ถึงอ่านแล้วลืมเสียก็เสียที
ต้องอ่านค้นป่นปี้เสียเวลา
คนช่างจำคลำถูกทุกเรื่องผุด
เปิดสมุดพบง่ายไม่หนักหนา
พ้นทิ้งทอดรอดจำนนทุ่นค้นคว้า
ความจำสารพัดให้กำไรงาม
ทุกนาทีมีแต่จะได้เปรียบ
คนขี้ลืมหลงเทียบก็งุ่มง่าม
คนหนึ่งบวกคนหนึ่งลบจบโมงยาม
ยิ่งนานปีมีแต่ความปราชัย

พบชื่อผู้เขียนชื่อ “ครูเทพ” จึงถามวีระ “ครูเทพนี่เป็นใครนะวีระ”

“ท่านชื่อเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี เวลาท่านเขียนหนังสือ

หรือแต่งโคลงกลอน ท่านใช้ชื่อว่า ครูเทพ ชื่อครูเทพจึงเป็นนามปากกา

More To Explore