fbpx

มหาวิทยาลัยแบบไหนจะเหมาะกับบ้านเรามากกว่า?

Share This Post

Share on email
Share on facebook
Share on twitter

ปัญหาหนึ่งที่ทำให้นักเรียนนักศึกษาบ้านเรามีปัญหาสับสนเรื่องการเลือกคณะมากก็เพราะว่าเรามองการเรียนมหาวิทยาลัยว่าเป็นการเตรียมอาชีพในอนาคต มากกว่าที่จะเป็นการพัฒนาคนให้มีความรู้ให้มีความคิดวิเคราะห์มากขึ้น  คือเราจะมองว่าการเลือกคณะคือการเลือกอาชีพไปเลย ซึ่งเป็นสิ่งที่ค่อนข้างแคบ ถ้าเรามาคิดกับสังคมในปัจจุบัน ถามจริงๆเถอะว่า มีนักเรียนอายุสิบแปดสักกี่คนกันที่จะรู้ว่าพอเรียนจบแล้วจะรู้ว่าตัวเองอยากทำงานเป็นอะไร จะมีสักกี่คนกัน ทำได้อย่างดีก็ เดาๆไปเอาตามที่พอสอบได้ ถ้าดวงดีก็ชอบ ถ้าดวงไม่ดีก็ได้งานที่ไม่ชอบ ก็ไปเปลี่ยนเอา สังคมบ้านเรามันต่างกับสังคมฝรั่งค่ะ  สังคมยุโรป จริงอยู่ที่พอเขาเรียนจบมัธยมเขาก็เรียนต่อคณะที่เป็นprofessional school อย่างแพทย์ อย่างนักกฏหมายเลย แต่ส่วนมากเพวกยุโรปเขาจะทำงานกันตั้งแต่ตอนมัธยม พอเรียนจบก็มักจะtake a year off ออกเดินทาง ไปvolunteer ไปสอนหนังสือที่ต่างประเทศ ไม่ได้เรียนหนังสือต่อทันทีเลย ทำให้ส่วนมากพวกเขามีวุฒิภาวะที่ทำให้เขารู้จักตัวเองว่าเขาจะเรียนอะไร อยากเรียนอะไร  ส่วนทางอเมริกา การเรียนปริญญาตรีจะยังไม่ได้แยกเป็นคณะๆ เพียงแต่แยกเป็นmajor เท่านั้น คือเน้นเพื่อให้นักศึกษาได้เน้นฝึกคิดวิเคราะห์ ได้ค้นหาความรู้ แล้วถ้าใครอยากเป็นหมอ เป็นนักกฎหมาย ก็ค่อยไปเรียนต่อหลังจากเรียนจบปริญญาตรีซึ่งกว่าจะถึงตอนนั้นก็จะมีวุฒิภาวะ และรู้จักตัวเองพอที่จะรู้แล้วว่าตัวเองชอบอะไรกันแน่   ครูม่อนเดาว่าตอนแรกบ้านเราเอาโมเดลมาจากยุโรป แต่สังคมบ้านเราไม่เหมือนกับบ้านเขา ตอนนั้นเราอาจจะจำเป็นต้องทำให้เหมือนเขาเพราะเราไม่อยากเป็นเมืองขึ้น แต่ตอนนี้เราไม่ได้กลัวเรื่องนั้นแล้ว ถึงเวลาที่เราจะนึกถึงเหตุผลมากกว่าtraditionแล้วลองเปลี่ยนอะไรได้บ้างหรือยัง?

More To Explore