ถ้ารู้ด้วย common sense ว่าคนเก่งอีกด้านไม่จำเป็นต้องเก่งอีกด้านเสมอไป แต่เราก็ยังเชื่อว่าการเล่นปัญหาปริศนาจะทำให้เราฉลาดได้ ครูม่อนเองก็เคยคิดอย่างนั้นเหมือนกันคะ ก็เล่นไปลับสมอง ก็น่าจะเก่งขึ้น
การเล่นเกมส์ปริศนาบ่อยๆ จะทำให้เราเล่นเกมส์นั้น หรือแก้ปัญหาแบบนั้นเก่งขึ้น แต่ไ่มได้ทำให้เราเป็นอัจฉริยะขึ้นมาหรอกนะคะ (ในทางกลับกัน คนที่แก้เกมส์ปริศนาได้ก็ไม่ใช่ว่าจะเป็นอัจฉริยะเสมอไป)
มีงานวิจัยในบราซิลพบว่า เด็กที่ทำปัญหาเลขบนกระดาษในห้องเรียนไม่ได้ แต่ว่าเป็นเด็กที่จนต้องขายของตลอด พอให้ทำปัญหาคล้ายกัน แต่เป็นในลักษณะการซื้อของทอนเงินกลับทำได้เก่งอย่างไม่น่าเชื่อ ในขณะที่เด็กที่ทำโจทย์ในห้องเรียนได้ พอให้ไปซื้อของทอนเงินกลับทำได้ไม่ดีหรือทำไม่ได้เลย ซึ่งงานวิจัยนี้ทำให้เห็นถึงปัญหาของระบบการศึกษาว่า ยังขาดการส่งเสริมให้นักเรียนนำเอาสิ่งที่เรียนไปใช้ในสถานการณ์ใหม่ๆได้
รู้อย่างนี้แล้ว อยากเก่งอะไรก็หาความรู้และฝึกด้านนั้นนะคะ ไปฝึกอ้อมๆอาจจะไม่ได้ผล และก็อย่าให้คนที่เป็นผู้เชี่ยวชาญในด้านนึง มาหลอกเราว่าเก่งอีกด้านนึงด้วยละ
อ้างอิง Bruer, J. (1993). Schools for thought. (pp. 1-80). Cambridge, MA: MIT Press.