เคยตั้งใจทำอะไรสุดๆ แต่ไม่นานก็อยากเลิกไหม?
สิ่งหนึ่งที่ทำให้เราเรียนแล้วอยากเลิก ก็คือ การตัดสินความก้าวหน้าของตัวเอง
What makes us want to give up learning is judging our progress.
เวลาจะเริ่มเรียนอะไรก็ตาม เรามักจะตื่นเต้น มีแรง มีmotivation เยอะ แต่พอเราเจออุปสรรคบ่อยๆเข้า เราก็อยากเลิก
เพราะอะไร ?
มันไม่ใช่ว่าเราขี้เกียจหรอก (ถ้าเราขี้เกียจเราคงไม่ได้ตั้งใจว่าจะเรียนตั้งแต่แรก)
แต่เราอยาก give up เพราะเราไปตัดสิน learning progress ของตัวเอง
เวลาที่เราทำผิดพลาด เช่น เล่นโน้ตผิดตอนฝึกกีตาร์ หรือ เขียนผิดแกรมม่า จริงๆแล้วmistakesเหล่านี้มันไม่ได้มีความหมายอะไร ผิดก็คือผิด แต่เราไป label มันเอง เราไปให้ meaning กับมันว่า
This mistake means I failed.
It means I am not good enough.
It means I’m not making progress.
It means I have wasted my time.
พอเราคิดแบบนี้ เราก็อยากเลิก เป็นใครก็อยากเลิกถ้าในหัวมีแต่ judgement แบบนี้ใช่ไหมคะ
สิ่งที่เราทำได้ คือ พยายาม focus ที่ process คือ ไม่ได้มุ่งแต่ว่าต้องได้ผลลัพธ์ยังไง แต่ be present with the learning process
มันยากนะ ม่อนเองก็ยังต้องคอยเตือนตัวเองบ่อยๆ เพราะเราอยู่ในสังคมที่ ต้องทำอันนี้ให้ได้ ต้องประสบความสำเร็จให้ได้เร็วที่สุด เลยทำให้เราสูญเสียความสุขในการเรียนรู้ไป
แต่ถ้าเราไม่ทำต่อเนื่อง ไม่ enjoy the learning process มันก็ไม่มีทางเก่งได้
ฉะนั้นพยายามโพกัสในสิ่งที่เราทำทุกๆวันเพื่อการเรียนรู้ แทนที่จะนึกถึงแต่ว่าเมื่อไหร่จะเก่ง
There is more than one way to learn. Don’t judge your learning process.
นอกจากจะไม่ควร judge our progress แล้ว เราควรพยายามไม่ judge our learning process ด้วย
บางทีเราเห็นคนอื่นเขาเรียนวิธีนี้แล้วได้ผล หรือเขาเก่งได้ภายในเวลาสั้นๆ เราก็อาจจะคิดว่าเราทำอะไรผิดเหรอเปล่า เราไม่เก่งเหรอทำไมถึงเรียนไม่ได้เร็วเท่าเขา
แต่จริงๆแล้วการเรียนรู้อะไรก็ตามให้เก่งนั้นมีได้หลายวิธี
งานวิจัย Dynamic Skill Theory by Kurt Fisher at Harvard University (ขอเชียร์อาจารย์ที่ปรึกษาหน่อย) ได้พบว่า การฝึกทักษะนั้นมีหลาย pathways บางคนอาจจะใช้วิธีหนึ่ง อีกคนใช้อีกแบบหนึ่ง แต่ก็สามารถเก่งได้เหมือนกัน ยิ่งระยะเวลาในการเรียนนั้นยิ่งแตกต่างกันเยอะ
เพราะฉะนั้น เราไม่ควรจะไปตัดสินกระบวนการเรียนของตัวเอง
บางทีเราอาจจะต้องทำผิดเยอะๆถึงจะเก่ง
บางทีเราอาจจะต้องเข้าใจtheoryถึงจะเก่ง
บางทีเราอาจจะต้องเรียนเป็นกลุ่มถึงจะเก่ง
บางทีเราอาจจะต้องฝึกคนเดียวถึงจะเก่ง
มันไม่มีสูตรตายตัวแน่นอน So don’t judge your learning process.
คนเราเก่งได้ใช้วิธีไม่เหมือนกัน หาวิธีที่เหมาะกับเราที่สุดแล้วทำไปเรื่อยๆค่ะ :
เรียน Academic Writing
การเขียนเชิงวิชาการไม่ใช่เรื่องยาก แค่เพียงเข้าใจกระบวนการเขียน (writing process) และรู้จักทักษะหลัก (core skills) ก็จะทำให้เขียนได้เร็วและดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ทางเรามีคอร์ส academic writing เรียนกับครูม่อน (จบจากฮาร์วาร์ดและUCLA) เน้นให้ฝึกเขียนจริง และได้ทักษะไปใช้ได้ทันที