ศึกษาต่อต่างประเทศ

เรียนคำศัพท์จากประสบการณ์เรียนนอก-วันแรกที่ได้ไปเข้าร่วมกิจกรรมมหาวิทยาลัย (3)

ถ้าคิดว่า orientation แค่นั้นพอแล้ว ยังจ้ะ ยังไม่จบ มี Orientation for LGBT students เราก็งงอีกแล้วอ่ะว่า LGBT คืออะไร ชื่อโปรแกรมหรือเปล่า แต่นั่งไล่ชื่อโปรแกรมจนหมดก็ไม่มีอันที่ย่อว่า LGBT นี่นา (อย่างโปรแกรมเราคือ Mind, Brain and Education ก็ย่อว่า MBE) ไปถามเพื่อนที่หอก็ได้ความว่า

Read More »

เรียนคำศัพท์จากประสบการณ์เรียนนอก-วันแรกที่ได้ไปเข้าร่วมกิจกรรมมหาวิทยาลัย (2)

วันแรกที่ได้ไปเข้าร่วมกิจกรรมมหาวิทยาลัย (2) หลังจากนั้นก็ยังมี Orientation for Students of Color ตัวเราตอนแรกก็งงๆนะว่า Students of Color นี่มันใครกันแน่ งงขนาดไปถามเจ้าหน้าที่เขาเลยนะว่า งานนี้เราต้องเข้าด้วยหรือเปล่า เพราะเราเองก็ขาวนะ ไม่ใช่ว่าตัวดำ เขาก็บอกว่า เข้าร่วมได้  ด้วยความที่งงๆอยู่ว่าแล้วมันต่างจากอันเมื่อเช้ายังไง ก็เลยไปเข้าให้มันรู้แล้วรู้รอดไป ได้ความว่า Students of Color 

Read More »

เรียนแบบนักวิชาการต้องหัดเถึยงให้เป็น

ที่ฮาร์วาร์ด และมหาวิทยาลัยดีๆอื่นๆ นักเรียนเถียงอาจารย์ได้ แล้วไม่เป็นไร แถมอาจารย์ยังชอบด้วยซ้ำ แต่ไม่ใช่ว่าเถียงแบบไม่มีเนื้อหา เถียงแบบไม่มีเหตุผล (ซึ่งบางทีเจอเยอะในห้องเรียนมัธยมนะ) ถ้าเราคิดอย่างมีเหตุผลแล้วไม่เห็นด้วยเราก็เถียงได้ ถามได้ ใช้เหตุผลของเรามาแสดง แล้วดูกันซิว่าอันไหนมีเหตุมีผลกว่ากัน ซึ่งการทำแบบนี้ ก็เป็นการทำให้วิชาการก้าวหน้าขึ้นด้วย เพราะบางทีคำถามของนักเรียนก็จุดประกายให้อาจารย์คิดอะไรดีๆได้ หรือไม่ก็ทำให้นักเรียนคนอื่นๆได้คิดถึงเรื่องที่ไม่เคยคิดมาก่อน สิ่งที่เราน่าจะส่งเสริมให้มีในวงการการศึกษาบ้านเรามากขึ้น คือ การคิดอย่างมีเหตุผล หรือที่เราชอบพูดกันว่า คิดอย่างมีวิจารญาณ แต่เราไม่ค่อยได้เข้าใจว่ามันหมายถึงว่าอะไรกันแน่ หลายๆครั้งที่วัฒนธรรมบ้านเรา ทำให้เราไม่กล้าเถียง (โดยเฉพาะคนที่อยู่ในตำแหน่งที่สูงกว่า)

Read More »

จะซิ่วหรือไม่ซิ่วดี?

ถ้าใครจะซิ่วหรือจะเปลี่ยนสาขาการเรียน เรามักจะคิดกันไม่ตกว่าจะซิ่วดีไม่ดี เราจะตัดสินใจอย่างไรดี ครูม่อนมีหลักการที่ได้จากประสบการณ์ส่วนตัวมาบอกค่ะ ครูม่อนลาออกจากหมอแล้วไปเรียนต่อศึกษาศาสตร์ จากประสบการณ์แล้วต้องถามตัวเองค่ะว่าเป็นคนแบบไหน เป็นประเภท high achiever คือมีความทะเยอทะยานสูง ทำอะไรต้องทำให้เลิศ หรือว่าเป็นคนแบบสบายๆ ชอบทำอะไรที่สบายๆที่ตัวเองชอบๆ แต่ไม่จำเป็นต้องเป็นเลิศก็ได้ ถ้าเป็นอย่างแรก (ซึ่งตัวเราเองเป็น-ซึ่งในบางเวลาก็ไม่ใช่ลักษณะที่ดีเท่าไหร่) การเรียนสิ่งที่ตัวเองไม่ชอบ จะทำให้ไปเรียนต่อลำบาก เพราะมหาวิทยาลัยดังๆ เช่น ฮาร์วาร์ด เขาไม่ได้ดูเกรดอย่างเดียว แต่ดูว่าเราได้ที่เท่าไหร่ของคณะ ถึงแม้จะเรียนคณะที่ไม่ได้ดังหรือเด่นมากนัก แต่ถ้าเราเป็นที่หนึ่ง

Read More »

ไปเป็นหนึ่งในชนกลุ่มน้อยที่ฮาร์วาร์ด

ที่ฮาร์วาร์ด จะมีความพยายามในการทำทุกอย่างเพื่อให้ทุกๆคนเท่าเทียมกัน คือ จะไม่มีการเลือกปฏิบัติว่าใครเป็นคนชาติไหนหรือเชื้อชาติไหน หรือถ้ามีก็จะพยายามทำให้น้อยที่สุด  ซึ่งจริงๆก็ไม่ได้เป็นเฉพาะที่ฮาร์วาร์ด แต่เป็นในอเมริกา เนื่องจากอเมริกาเป็นชาติที่ประกอบด้วยคนมากมายหลายเชื้อชาติ เมื่อก่อนก็มีเรื่องการแบ่งแยกเชื้อชาติอยู่ค่อนข้างมาก แต่ต่อมาเขาก็มีนโยบายที่ช่วยเหลือคนกลุ่มน้อยเพื่อไม่ให้ได้รับความเดือดร้อนจากการกีดกันทางเชื้อชาติ ที่Harvard Graduate School of Education จะมีการประชุมวิชาการปีละครั้งที่เน้นเรื่องการส่งเสริมให้วงการการศึกษาสนับสนุนคนหลากหลายเชื้อชาติมากขึ้น ในปีที่ม่อนเรียนอยู่ ม่อนก็ได้เป็นหนึ่งในกรรมการที่ช่วยเขาจัดงานค่ะ งานนี้ชื่อว่า Alumni of Color Conference   คำว่า Alumni

Read More »

ไม่มีใครโง่หรือฉลาด เพียงแต่แตกต่างกันเท่านั้นเอง

สิ่งหนึ่งที่ม่อนได้รับจากการเรียนที่ฮาร์วาร์ด คือ วิธีที่เรามองความสามารถของคนในการเรียนรู้ค่ะ  ในโรงเรียนหรือในวงการการศึกษา มักจะหนีการlabelไม่พ้น บางคนอาจจะโดนคนอื่นมองว่าเป็นคนเรียนไม่เก่ง บางคนอาจจะโดนว่าเป็นคนหัวช้า เป็นต้น แต่ที่ฮาร์วาร์ด จะสอนว่า คนเรามีความแตกต่างกัน บางคนอาจจะไม่เก่งด้านการเรียนแต่เก่งด้านดนตรี บางคนเก่งด้านกีฬาแต่ไม่เก่งด้านภาษา  คนที่ไม่เก่งเรื่องที่สอนในโรงเรียนมักจะโดนมองว่าเป็นคนเรียนช้า หรือไม่เก่ง แต่จริงๆแล้วเขามีความสามารถด้านอื่นที่อาจจะไม่ได้รับการยอมรับในระบบการศึกษา หรือกล่าวในอีกนัยหนึ่งก็คือว่า ความฉลาดหรือความสามารถในการเรียนรู้ของคนเรานั้น ไม่ได้ถือว่ามีใครโง่หรือฉลาด เพียงแต่แตกต่างกันเท่านั้นเอง ไม่ต่างอะไรกับการที่คนมีสีผิวต่างกัน ก็ไม่ได้หมายความว่าคนสีผิวไหนดีกว่าสีผิวไหน เพียงแต่แตกต่างกันเท่านั้นเอง  เมื่อมองอย่างนี้แล้ว เป็นประโยชน์อย่างมากต่อการพัฒนาของคนคนนั้นนะคะ

Read More »