fbpx

โชคดีที่เกิดเป็นคนไทย

Share This Post

Share on email
Share on facebook
Share on twitter

วันนี้มีอาจารย์จากโตเกียวมาบรรยายเรื่อง Brain Science and Ethics เขาเล่าเกี่ยวกับวิจัยทางสมอง ที่ญี่ปุ่นที่ตอนนี้ก้าวหน้ามากๆ และกำลังเริ่มทำเรื่องจริยธรรมของคนโดยใช้เครื่องสแกนสมอง แต่ที่น่าสนใจในฐานะชาวพุทธก็คือว่า เขาใช้หลัก เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา มาสอนด้วย ใช้เป็นหลักในการวัดจริยธรรมของคน ในห้องก็มีคำถามมากพอสมควรเพราะฝรั่งเขาไม่ค่อยเข้าในหลักนี้เท่าไหร่ อาจารย์ผู้บรรยายเสนอว่าการสอนจริยธรรมควรจะเริ่มตั้งแต่เด็กๆ แต่ที่อเมริกา ศาสนาจะต้องแยกกับอะไรที่เกี่ยวกับรัฐบาลอย่างชัดเจน ดังนั้นในโรงเรียนจะไม่มีการสอนอะไรที่ก้ำกึ่งว่าเกี่ยวกับศาสนาเลย ไม่อย่างนั้นครูอาจโดนผู้ปกครองฟ้องร้องได้ ในฐานะที่เป็นคนไทย ที่โตมากับการสอนพุทธศาสนาตั้งแต่เด็กจนโต รู้สึกได้ถึงความแตกต่างของสังคมและวัฒนธรรม ม่อนรู้สึกว่าเราโชคดีแค่ไหนที่เกิดมาเป็นคนไทย เป็นเรื่องปกติที่คนเรามักจะมองข้ามสิ่งดีๆที่เรามีอยู่ พอได้มาเห็นสิ่งที่ไม่เหมือนเดิม ถึงได้รู้ว่าสิ่งที่เรามีอยู่มันดีแค่ไหน บ้านเราค่อนข้างจะเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน (ไม่นับเรื่องการเมืองในตอนนี้) เราสามารถสอนพุทธศาสนาในโรงเรียนได้โดยไม่มีใครคัดค้าน จริงอยู่ที่ว่าหลายๆคนอาจไม่เห็นด้วย กับการสอนศาสนาในโรงเรียน บางคนคิดว่าเป็นการมัดมือชกเกินไป โดยเฉพาะสำหรับคนที่ไม่นับถือศาสนาพุทธ แต่ม่อนมองว่าจะสอนศาสนาอะไรก็ได้ ตราบใดที่ไม่บังคับให้เด็กต้องนับถือศาสนานั้น เพราะม่อนมองว่าศาสนาเป็นเครื่องมือในการสอนจริยธรรมและการเป็นคนดีของสังคม จะใช้เครื่องมืออะไรในการสอนก็ได้ แต่จำเป็นต้องสอน และในตอนนี้ม่อนก็ไม่เห็นว่าจะมีเครื่องมืออื่นใดที่ใช้ได้ผลกว่าศาสนา (คนอื่นอาจจะไม่เห็นด้วยก็ได้นะ) ไม่ว่าจะเกี่ยวกับศาสนาหรือไม่ จริยธรรมก็ยังเป็นสิ่งสำคัญอยู่ งานวิจัยของอาจารย์โฮเวิร์ด การ์ดเนอร์ที่ฮาร์วาร์ดนี้ มีอยู่อันหนึ่งที่ศึกษาคนที่ทำงานดีๆ เป็นตัวอย่างให้กับเพื่อนร่วมงาน โดยศึกษาในหลายๆสาขาวิชา พบว่า คนที่ทำงานดีๆเก่งๆส่วนมากมีรากฐานที่เข้มแข็งทางศาสนาทั้งนั้น ซึ่งถือเป็นผลงานวิจัยที่สำคัญที่ทำให้เราได้เห็นผลกระทบของศาสนาและ จริยธรรม

อีกเรื่องที่ทำให้เห็นว่าการเป็นคนไทยก็มีข้อดีอีกอ ย่าง ก็คือตอนที่เรียนเรื่องพื้นฐานของคณิตศาสตร์ ที่เกี่ยวกับสมองและพัฒนาการ มีคำถามเกิดขึ้นเกี่ยวกับภาษาที่ใช้อธิบายคณิตศาสตร์ ซึ่งถือเป็นปัญหาในบางภาษา เช่น ภาษาอังกฤษ เพราะการนับเลขภาษาอังกฤษ ไม่ง่ายเหมือนภาษาไทย ลองนึกย้อนกลับไปตอนเป็นเด็กประถมสิ คงพอจะจำได้นะว่าการจะนับได้ถึงร้อยนี่ยากน่าดู เช่น 34 ภาษาอังกฤษ คือ thirty-four ซึ่ง ไม่ได้เกี่ยวอะไรกับสามสิบเลย แต่ของภาษาไทยง่ายมาก ก็แค่ สาม สิบ สี่ ตรงกับการนับจำนวนเลย พูดง่ายๆก็คือ ภาษาที่อ่านตัวเลขของเรา บ่งบอกเลยว่า จำนวนนั้นคืออะไร แต่สำหรับภาษาทางยุโรปจะไม่เป็นแบบนั้น ที่ตลกก็คือ นักคณิตศาสตร์จำนวนมากเป็นคนฝรั่งเศส และภาษาที่ใช้อธิบายตัวเลขได้ยากที่สุดก็คือ ภาษาฝรั่งเศส (ม่อนเดาเองเล่นๆว่า สงสัยเขาจะงง ก็เลยตั้งใจศึกษาค้นคว้าซะจนเก่ง) ส่วนภาษาไทยเราก็นับเลขคล้ายๆภาษาจีน ซึ่งม่อนว่าก็แปลกเหมือนกัน เพราะเป็นภาษาคนละตระกูลกันเลย แต่กลับมาคล้ายกันได้ และนี่แหละก็เป็นเหตุผลอีกอย่างที่ดีใจที่เกิดมาเป็นคนไทยcareer service จริงๆตั้งใจจะไปคุยว่ามีงานอะไรในสาขาที่ เราเรียนอยู่บ้าง คุยไปคุยมาก็คุยไปถึงว่า เราจะสมัครงานอะไรได้บ้าง จริงๆช่วงหลังๆนี้ไม่ค่อยมั่นใจในความเก่งของตัวเองเท่าไหร่หรอกนะ เพราะคนที่นี่เก่งๆกันทุกคน แถมเราก็ไม่ได้พูดภาษาอังกฤษเก่งเหมือนเจ้าของภาษาด้วย เลยคิดว่าตัวเองสู้คนอื่นๆที่นี่ไม่ได้ แต่เขาก็พูดให้ม่อนคิดได้นะว่า ถ้าเราไม่มีความสามารถก็คงไม่ได้มาอยู่ที่นี่หรอก และประสบการณ์ชีวิตของเราก็แตกต่างไม่เหมือนใคร เรามีอะไรที่คนอื่นเขาไม่มี เรามีประสบการณ์การเรียนภาษา การอยู่ต่างประเทศ การทำงานต่างสาขา เราต่างก็มีจุดแข็งที่ไม่เหมือนกัน มันอยู่ที่ว่าเราจะดังจุดดีของเราออกมาได้หรือเปล่า ซึ่งมันก็จริงอย่างที่เขาพูดแหละ ม่อนก็รู้ในข้อนี้ดี แต่บางทีพอชีวิตยุ่งๆ เราก็ลืมนึกไป การเป็นนักเรียนต่างชาติก็มีอะไรที่คนอื่นไม่มี จงภูมิใจในตัวเองและใช้มันให้เป็นประโยชน์

More To Explore