fbpx

เรากำลังเรียนภาษาอังกฤษกันอย่างถูกวิธีหรือเปล่า?

Share This Post

Share on email
Share on facebook
Share on twitter

ตอนม่อนเป็นนักเรียน เมืองไทยเรียนภาษาอังกฤษแบบไทยๆ คือ เรียนแกรมมา ม่อนไม่เคยได้เรียนกับฝรั่งเลยตั้งแต่ประุถมยันมัธยม แต่ตอนนี้ในวงการการศึกษาบ้านเรา ในโรงเรียนมักจะใช้ฝรั่งสอนภาษาอังกฤษ ซึ่งม่อนก็คิดว่าดีนะ แต่ตอนนี้พอได้เรียนรู้ได้เห็นอะไรมากขึ้น ชักจะสงสัยแล้วว่าม้ันเป็นวิธีที่ดีที่สุดแล้วหรือเปล่า

ตอนเรียนเรื่องสมองกับการศึกษาที่ฮาร์วาร์ด ม่อนได้อ่านหนังสือและบทความทางวิืทยาศาสตร์เยอะ รู้ว่าการเรียนภาษามี sensitive period ของสมอง คือมีช่วงที่สมองจะเรียนรู้ภาษาได้ดี เช่น เรื่องสำเนียง ถ้าได้สัมผัสกับภาษานั้นๆ(แบบสำเนียงnative speaker)ก่อนอายุสิบสองปี สมองก็มักจะิเรียนรู้สำเนียงนั้นได้ง่าย เราถึงเห็นว่าเด็กที่ย้ายไปอยู่ประเทศอื่นตั้งแต่เด็กๆก็มักจะพูดภาษานั้นๆได้โดยไ่ม่ติดสำเนียง ส่วนเรื่องการแยกเสียงนั้น ตอนแรกเกิด เด็กจะแยกได้เกือบทุกเสียงตามธรรมชาติ แต่พอถึงอายุสิบเดือน สมองจะเหลือเฉพาะความสามารถในการแยกเสียงที่ได้ใช้ในสิ่งแวดล้อมนั้นๆ ส่วนเรื่องแกรมมา ถ้าได้เรียนตั้งแต่ก่อนวัยรุ่น สมองจะใช้สมองส่วนเดียวกับnative speakerในการประมวลผล แต่ถ้าเรียนหลังจากนั้นไปแล้ว จะใช้สมองส่วนอื่นในการประมวลผลแกรมมา

ที่เล่าให้ฟัง ไม่ใช่ให้ตกใจว่า ฉันอายุเกินแล้ว ก็เรียนไม่ได้สิ ไม่ใช่ค่ะ งานวิจัยมีบอกแน่ชัดว่าการเรียนภาษาต่างประเทศสามารถเรียนได้ตลอดชีวิต แต่อาจจะต้องใช้ความพยายามมากกว่า หรือใช้วิธีการเรียนที่แตกต่างอออกไป อย่างม่อนเองก็มีเริ่มตั้งใจเรียนภาษาอังกฤษตอนมัธยมเหมือนกัน

ฉะนั้นม่อนว่าการที่ในโรงเรียนประถมหรืออนุบาล มีการนำเราฝรั่งมาสอนภาษาอังกฤษนั้นก็เป็นสิ่งดีที่ให้เด็กได้สัมผัสกับสำเนียงและการใช้ภาษาอังกฤษในสิ่งแวดล้อมจริงๆ แต่ก็อาจจะไม่ใช่อย่างเดียวที่จะมีผลต่อการเีรียนภาษา ยิ่งไปกว่านั้น ในมัธยม ถ้าเด็กไม่มีพื้นฐานภาษาที่ดีพอ การให้native speakerสอนเพียงอย่างเดียวก็อาจจะไม่ใช่คำตอบที่จะนำไปสู่การเก่งภาษาได้

เพราะอะไรถึงเป็นอย่างนั้น มันเป็นเพราะการเีรียนภาษาอังกฤษในฐานะที่เป็นภาษาต่างประเทศ กับในฐานะที่เป็นภาษาแม่ มันแตกต่างกัน

เมื่อก่อนม่อนก็มักจะคิดแบบง่ายๆว่า ถ้าเราอยากจะเ่ก่งภาษาอังกฤษก็ควรจะเรียนแบบฝรั่งเรียน ดังนั้นถ้าให้ฝรั่งสอนก็น่าจะดี เพราะเขารู้ว่าเขาเรียนมาอย่างไร

แต่พอไปเรียนเรื่องนี้มากๆเข้าก็รู้ว่า การเรียนภาษาแม่ กับภาษาต่างประเทศมันไม่เหมือนกันเลย เวลาที่เราเป็นเด็กเรียนภาษาแม่ เราจะเรียนโดยไม่รู้ตัว ซึมซับเข้ามาโดยไม่ได้คิดอะไรมาก เป็นแบบอัตโนมัติ ลองให้เราไปสอนคนต่างชาติพูดภาษาไทยซิค่ะ ม่อนเคยแล้ว ยากอย่างไม่น่าเชื่อ เพราะอะไร? เป็นเพราะเราเรียนโดยไม่รู้ตัวว่าเราเรียนมาอย่างไร ฉะนั้นเราจะนึกไ่ม่ออกว่าควรจะสอนอย่างไร ต่างกับคนที่เรียนวิธีการสอนภาษาไทยมาโดยตรง ฉะนั้นม่อนว่าให้ฝรั่งที่เคยเรียนภาษาไทยจนพูดได้เก่ง ยังน่าจะสอนได้เก่งกว่าคนไทยซะอีก เพราะเขาจะเข้าใจว่าฝรั่งคิดอย่างไร

เวลาที่เีรียนภาษาต่างประเทศ ถ้าเราไม่ได้เรียนตั้งแต่เด็กๆ ตอนแรกๆแต่ละกระบวนการจะต้องใช้ความรู้ตัวตลอดเวลา เหมือนกับเวลาที่เรียนขี่จักรยานหรือว่ายน้ำ ตอนแรกๆก็ต้องคอยระวังไปหมด แต่พอนานๆไปก็จะชิน และทำได้เป็นอัตโนมัติ เรียนภาษาก็เหมือนกันค่ะ ตอนแรกๆ อาจจะต้องคอยระวังแกรมมา คอยนึกศัพท์ แต่นานๆไปก็จะเป็นอัตโนมัติไปเอง

แต่ที่สำคัญ คือ ตอนที่ต้องเริ่มเรียนตอนแรกนี่ซิค่ะ ถ้าคนสอนไม่รู้ว่ากระบวนการคิดของคนต่างชาติเป็นอย่างไร ก็น่าจะสอนให้เข้าใจได้ลำบากเหมือนกัน

ปัจจัยอีกอย่างที่มีผลต่อการเรียนภาษาต่างประเทศก็คือ ภาษาแม่ ถ้าภาษาแม่ใกล้เคียงกับภาษาที่เราจะเรียน เราก็เรียนได้ง่ายกว่า ม่อนเคยไปอยู่ที่นอร์เวย์มาหนึ่งปี ไปเรียนภาษานอร์เวย์ด้วย ที่นั่น ทุกคนพูดภาษานอร์เวย์หมด แต่เพื่อนๆพูดภาษาอังกฤษกันได้เก่งมาก ทั้งๆที่ไม่เคยไปเมืองนอกเลย ตอนแรกๆก็ทึ่งว่าเขาทำได้ยังไง แต่พอม่อนเริ่มเรียนภาษานอร์เวย์ก็เริ่มเข้าใจว่า มันมีส่วนที่คล้ายๆกับภาษาอังกฤษเยอะมาก ทำให้เขาเรียนได้ง่าย ประกอบกับที่นู่น จะไม่พากย์หนังหรือละคนเลย แม้แต่อันที่เป็ันภาษาสเปนหรือฝรั่งเศส ทำให้คนที่นั่นได้ฟังภาษาอังกฤษเยอะ ก็เลยพูดกันได้เก่ง

ภาษาแม่มีผลต่อระบบความคิดของเราอย่างมาก ถ้าภาษามีระบบที่ใกล้เคียงกัน เราก็จะเข้าใจได้ง่ายกว่า ฉะนั้นที่เราเห็นว่าคนเอเชียมักจะพูดภาษาอังกฤษได้เก่งน้อยกว่าคนยุโรป ก็ไม่ใช่ว่าคนเอเชียไม่ขยันนะคะ แต่เป็นเพราะระบบภาษาต่างกันมาก เลยต้องใช้ความพยายามในการเรียนภาษาอังกฤษมากกว่าคนยุโรป ลองยกตัวอย่างให้เห็น ถ้าใครเคยเรียนภาษาจีน จะรู้ว่าภาษาจีนมีอะไรคล้ายๆภาษาไทยหลายอย่าง เช่น มีคำลักษณนาม มีการซ้ำคำ (เช่น ช้าๆ เ็ด็กๆ) ซึ่งอาจารย์ที่สอนภาษาจีนบอกว่าอธิบายให้ฝรั่งเข้าใจได้ยากมากเลยว่า ทำไมต้องซ้ำคำ แต่พอกับคนไทย แทบไม่ต้องอธิบายเลย การใช้คำว่า le ก็เหมือนกับการใช้คำว่า แล้ว ในภาษาไทย ทำให้ไม่่ต้องอธิบายมาก ก็พอจะเป็นคำอธิบายได้ว่า ทำไมเด็กไทยมักจะเรียนภาษาจีนได้เร็วกว่าภาษาอังกฤษทั้งๆที่เริ่มเรียนช้ากว่า

แต่ถึงแม้ว่าภาษาไทยเราจะต่างกับภาษาอังกฤษมาก เราก็เรียนให้เก่งได้ค่ะ เพียงแต่ว่าเราอาจจะต้องหาวิธีในการเข้าใจภาษาอังกฤษในมุมมองของคนไทยขึ้นมา จากประสบการณ์ของม่อน ม่อนคิดว่าการรู้พื้นฐานไวยากรณ์ทำให้เข้าใจระบบความคิดของภาษาอังกฤษได้อย่างไม่น่าเชื่อ ไวยากรณ์ไม่ใช่เอาไว้จับผิดตัวเองว่าพูดผิดหรือถูก เราไม่ใช่คนอังกฤษ ยังไงก็ต้องมีผิดมีถูกบ้าง (ขนาดภาษาไทย เราเองยังมีพูดผิดพูดถูกเลยใช่ไหมคะ) แต่ถ้าเราเข้าใจพื้นฐานไวยากรณ์ เราก็จะเข้าใจภาษาได้มากขึ้นค่ะ พอเราได้พื้นฐานแล้ว ก็ไปฝึกฟังฝึกอ่าน ไปแวดล้อมตัวเองด้วยภาษาอังกฤษ ให้กลายเป็นเรื่องอัตโนมัติสำหรับเรา

ที่เขียนนิ ไม่ได้จะบอกว่าเรียนด้วยฝรั่งดีกว่า หรือคนไทยดีกว่า เพียงแต่อยากจะเสนอให้คิดดูก่อนที่จะคิดว่า ต้องฝรั่งเท่านั้น หรือต้องคนไทยเท่านั้น เสนอไว้ให้ลองคิดกันดูนะคะ

Create Date : 30 กันยายน 2552

More To Explore