วันนี้discussกับเพื่อนๆ เรื่องวิธีการเรียนการสอนภาษาต่างประเทศ ตามBrown(1993) เราสามารถแบ่งการเรียนการสอนภาษาต่างประเทศได้สองแบบใหญ่ๆ คือ แบบbehavioristic และ แบบ cognitive โดยแบบbehavioristic คือ เน้นแบบการใช้ภาษาจนชิน ซึ่งเป็นแบบที่เราเรียนกันเป็นส่วนมาก ม่อนจะขอเรียกแบบนี้ว่าแบบ “นักท่องจำ” แล้วกันนะคะ ส่วนแบบcognitive คือ เรียนแบบเข้าใจว่าทำไมต้องเป็นอย่างนี้ ตัวอย่างง่ายๆ ก็เช่น เราคิดว่าทำไมประโยคนี้ถึงต้องใช้tenseนี้ มันทำให้ความหมายเปลี่ยนอย่างไร แทนที่จะท่องเป็นกฏๆไป เป็นต้น ม่อนขอเรียกแบบนี้ว่าแบบนักคิดแล้วกันนะคะ ม่อนจำได้ว่าตอนเรียนภาษาอังกฤษ ก็เรียนมาตั้งแต่ประถม แต่ส่วนมากเราจะเรียนแบบbehavioristic คือ ท่องไป อ่านไป ซ้ำๆจนจำได้ ซึ่งตอนเด็กๆก็จำได้บ้างไม่ได้บ้าง ไม่เคยเก่งภาษาอังกฤษเลย ถือเป็นวิชาที่ม่อนอ่อนที่สุด แต่พอมาตอนมอสาม ได้เจออาจารย์ที่สอนให้เราเข้าใจว่าแกรมมาว่าทำไมต้องใช้คำไหน ต้องใช้หลักไหนในการคิด ทำให้เรารู้สึกว่าเราเข้าใจภาษาอังกฤษและเรียนได้ดีขึ้นมาเรื่อยๆ ตอนนั้นเลยรู้สึกว่า ถ้าเรียนภาษาต้องเรียนแบบนักคิด พอต่อมา ม่อนเริ่มเรียนภาษาจีน ก็ด้วยความที่เราเป็นคนช่างคิดช่างสงสัย ถึงแม้จะเรียนระดับเริ่มต้น ม่อนก็จะถามหาคำอธิบายว่าทำไมต้องใช้คำนี้ ทำไมถึงเป็นอย่างนี้ตลอด แต่ว่ามันทำให้เรียนได้ช้ามากๆๆ ตอนนี้เริ่มเข้าใจว่า ตอนเริ่มต้นจริงๆ น่าจะต้องเน้นแบบ behavioristicก่อน คือ ต้องให้มีอะไรอยู่ในหัว อยู่ในนิสัยก่อน แล้วค่อยมาวิเคราะห์กันต่อทีหลัง ยิ่งวันนี้ยิ่งได้คุยกับเพื่อนๆและอาจารย์ ก็ได้ข้อสรุปว่า จะเรียนหรือสอนแบบไหนก็ต้องขึ้นกับอายุผู้เรียน และระดับภาษาด้วย ถ้าเป็นเด็กๆ ยังไงก็ต้องสอนแบบทำซ้ำๆเพื่อให้เป็นธรรมชาติ แต่ถ้าระดับภาษาสูงขึ้นแล้วและผู้เรียนเป็นวัยรุ่นหรือผู้ใหญ่ ก็จำเป็นต้องเรียนแบบคิดให้มากขึ้น เพราะเราจะไม่สามารถเก่งภาษานั้นๆได้เลย ถ้าเราไม่ได้เรียนแบบคิดและเข้าใจหลักการของภาษานั้นๆ
Reference: Brown D. (1993). Principles of language learning and teaching. NJ: Prentice Hall Regents.