ในการเขียนเชิงวิชาการ (academic writing) เราใช้การย่อ (abbreviation) อย่างไร?
Abbreviation คือ การย่อให้คำหรือวลี(phrase)สั้นลง
ยกตัวอย่างเช่น Professor –> Prof., Doctor —> Dr.
การย่อนั้นยังมีอีกสองแบบย่อยด้วยกัน
Contraction หรือ การย่อ
do—> don’t, cannot—>can’t, will not—>won’t
ในกรณีไหนบ้างที่เหมาะกับการใช้contraction ในการเขียนเชิงวิชาการ?
คำตอบคือ ไม่มีค่ะ
เขียนเชิงวิชาการถือเป็นการเขียนแบบทางการ เราจะไม่ใช้การย่อเลย ให้เขียนตัวเต็มให้หมด
Acronyms หรือ ตัวย่อที่เอาตัวอักษรแรกของหลายๆคำมาทำให้เป็นคำใหม่ เช่น ASEAN ย่อมาจาก Association of Southeast Asian Nations
เราใช้acronymsในการเขียนเชิงวิชาการได้ไหม?
คำตอบคือ ได้ค่ะ แต่มีข้อแนะนำคือ
1. เวลาที่เราจะเอ่ยถึงตัวย่อครั้งแรก เราจะต้องใช้ตัวเต็มแล้วใส่ตัวย่อไว้ในวงเล็บ
เช่น ในessay เวลาเราพูดถึงASEAN ครั้งแรก ให้เราใช้เขียน Association of Southeast Asian Nations(ASEAN) แล้วครั้งต่อไปค่อยใช้ ASEAN ตัวย่อได้
ดูเป็นหลักง่ายๆนะคะ แต่เป็นเรื่องที่หลายๆคนลืมนึกไป บางทีเราก็นึกว่าคำย่อที่เราใช้มันใช้กันแพร่หลาย คนน่าจะรู้อยู่แล้ว แต่เราต้องจำไว้ว่าคนอ่านอาจจะไม่มีความรู้เหมือนเรา
จริงๆแล้วคำย่อที่เราไม่จำเป็นต้องอธิบายนั้นมีอยู่ไม่เยอะ เช่น US (United States), AC (คริสต์ศักราช) , BC (ก่อนคริสตกาล), DVD
2. ถ้าเราจะใช้คำนั้นแค่ครั้งเดียวหรือสองครั้ง ไม่ควรใช้เอาตัวย่อมาใช้ ให้ใช้ตัวเต็มไปเลย ถ้าเราจะใช้สามสี่ครั้งขึ้นไป ค่อยเอาตัวย่อมาแนะนำให้คนอ่านรู้จัก
3. ปกติแล้วจะไม่ค่อยนิยมให้ acronyms ขึ้นต้นประโยค
(GOOD) Teaching English as a foreign language is a rapidly developing field.
(BAD) TEFL is a rapidly developing field.
นอกจากนี้ยังมีหลักของแต่ละสาขาวิชาด้วย อย่าลืมเช็คว่าในสาขาของเรานั้นใช้ตัวย่อแบบไหนนะคะ