fbpx

การเขียน essay แล้วโดนให้แก้ทั้ง โครงสร้าง essay ทำไงดี ?

การเขียน essay

Share This Post

Share on email
Share on facebook
Share on twitter

ใครเคยคิดว่าเก่ง writing คือ เขียนเสร็จเร็   ก็แค่ร่างหนึ่งรอบ, เขียน, แล้วก็ตรวจทางอีกรอบก็ส่งได้เลย”

แต่จริงๆแล้วไม่มีใครเป็นแบบนั้นได้เลยค่ะ แม้แต่ native speaker เองยังทำไม่ได้ ครูจะเล่าตัวอย่างจากเพื่อนที่เรียนปริญญาเอกด้วยกัน ซึ่งแต่ละคนก็เป็น native speakers เขียนมาเยอะ บางคนเป็นนักเขียนด้วย

แต่กระบวนการการเขียนของทุกคนเหมือนกัน คือ ไปคิดเนื้อหามาก่อน  → แล้วมาคุยกันในกลุ่มเพื่อรับ feedback → แก้ → คุยกับอาจารย์ที่ปรึกษา → พอได้เนื้อหา→ เขียนร่าง → แก้ภาษา → รับfeedbackจากเพื่อนหรืออาจารย์อีกที –> แล้วก็ไปแก้เองอีกหลายรอบกว่าจะส่งได้  นี่คือแค่เขียนนะคะ ยังไม่รวมที่ต้องหาข้อมูล research เพิ่มเติม.. จะเห็นเลยว่าจริงๆแล้วต้องใช้เวลาเยอะ ต้องเขียนหลายรอบ เพราะมันเป็นกระบวนการปกติของการเขียน 

เคล็ดลับที่ช่วยย่นเวลาการเขียน academic writing ได้มากกว่า  50% คือ ขอ feedback ให้เร็วที่สุด 

คือ เราไม่จำเป็นต้องเขียนทั้ง essay แล้วค่อยไปหาอาจารย์หรือ TA  ให้ไป office hour หรือนัดเองเลย  ไปให้เขาดูเนื้อหาดูdirectionก่อนว่าโอเคไหม (อาจจะเป็นแค่   bullet points, outline หรือ mindmap ก็ยังได้ ถ้าอาจารย์โอเค)  

 เวลาเอาเนื้อหาไปปรึกษา ก็อาศัยพูดอธิบายเอาด้วย ไม่ใช่ให้เขาอ่านอย่างเดียว แบบนี้ง่ายกว่าเยอะ 

พอได้ไฟเขียวว่าเนื้อหาโอเค เราค่อยไปเขียนร่าง (draft)  

 แล้วก็เอา draft ไปหา feedback อีกที เราก็จะรู้ว่าต้องแก้ parargraprhไหน  section ไหน  

ทำแบบนี้เราไม่ต้องเสียเวลาแก้ทั้ง essay เราแก้ทีละจุดไป  

ไม่เสียเวลาแบบที่อุตสาห์ใช้เวลาเขียนทั้ง essay แล้วแต่อาจารย์บอกว่าให้แก้ใหม่หมด (ครูเคยมาแล้ว น้ำตาตกไปหลายรอบเลย)

ประโยชน์อีกอย่างของวิธีนี้คือ เราไม่เสียเวลาแก้ภาษาโดยไม่จำเป็น

เพราะว่าอะไรคะ?  ถ้าเนื้อหาบางส่วนเราต้องตัดทิ้ง เราก็เสียเวลาแก้ประโยคแก้ภาษาโดยเปล่าประโยชน์แล้วก็ไม่ได้ใช้อยู่ดี 

ฉะนั้นการเอาเนื้อหาไปคุยกับอาจารย์หรือ TA ก่อน จะป้องกันไม่ให้เราเสียเวลาแก้ภาษาโดยไม่จำเป็น  เวลาเอาเนื้อหาไปปรึกษา พอเขาโอเคกับเนื้อหาเราแล้วเราค่อยไปเขียนภาษาให้ถูกต้องให้อ่านง่าย 

แค่นี้ก็ย่นเวลาได้เยอะมากๆเลย แถมไม่ปวดหัวอีกด้วยค่ะ 

More To Explore