fbpx

การเขียน Statement Of Purpose คืออะไร ? 4 เทคนิคต้องรู้ ก่อนส่ง

Statement Of Purpose คือ

Share This Post

Share on email
Share on facebook
Share on twitter

ก่อนจะได้เรียนต่อในที่ที่เราฝัน ก็ต้องสมัครให้ติดก่อน

Statement Of Purpose คืออะไร ?

Statement of Purpose หรือ Personal Statement คือ เป็นสิ่งหนึ่งที่หลายๆคนกลัวกันมาก ซึ่งก็ไม่แปลกเลยเพราะการเขียน essay ภาษาอังกฤษยาวๆ แถมเขียนเรื่องตัวเองอีก ย่อมเป็นอะไรที่น่ากังวลเป็นธรรมดา

จากประสบการณ์ที่สมัครเรียนต่อปริญญาโทและเอกของตัวเอง และที่โค้ชนักเรียนมาเยอะ ครูพบว่ามีข้อผิดพลาดที่ผิดกันเยอะอยู่ 4 อย่าง คือ

1. ตอบไม่ตรงคำถาม   

อันนี้เจอบ่อยมากอย่างไม่น่าเชื่อ เป็นอะไรที่มองข้ามได้ง่าย เพราะว่าการเขียน SOP นั้นเป็นงานใหญ่ ต้องเขียนกันหลายหน้า พอร่างไปหลายๆรอบ เนื้อหาก็เปลี่ยนไปเรื่อยๆ ซึ่งถือว่าเป็นปกติสำหรับงานเขียน แต่ที่พลาดคือ ก่อนส่งไม่ได้กลับไปดูคำสั่งอีกรอบแล้วอ่านเช็คดูว่าสิ่งที่เราเขียนตอบคำถามครบทุกข้อหรือไม่  บางครั้งคำสั่งไม่ได้แบ่งเป็นข้อๆ แต่แฝงอยู่ในคำสั่ง เราก็ต้องเช็คดูว่าเราตอบครบทุกอย่างแล้วหรือยัง

ตัวอย่าง จาก Harvard Graduate School of Education

Statement of Purpose

Your statement should be your own original work and may not be written, in part or in whole, by a third party. It should be typed, double-spaced, and no more than 1,500 words. International applicants must write their statement in English; the use of translators is not permitted.

Please note that the admissions committee will carefully consider both the content and the writing in its assessment of your candidacy for graduate study at HGSE.

Master of Education (Ed.M.) applicants only

As a reminder, competitive candidates need not have prior direct experience in an education setting though should have a clear conception of why they’re pursuing a master’s degree in education. In addition, “education” and “education-related” are broadly defined at HGSE and encompass all fields, roles, and contexts covered by the Ed.M. Programs and Concentrations we offer.

    • Your background: What key experiences have contributed to your commitment to work in the field of education or with education-related issues?

    • Your objectives for graduate study: What are your academic and professional goals and what knowledge, skills, and tools are you hoping to develop through enrollment in a graduate program?

    • Why HGSE, and why this specific Program (and Concentration, if relevant): why is enrollment at HGSE, and in this master’s Program and Concentration specifically, critical in helping you achieve your goals?

จะเห็นว่าคำสั่งนี้แบ่งเป็นข้อๆให้ แต่ไม่ได้กำหนดว่าให้เขียนแยกเป็น essay สามอัน เพราะฉะนั้นก็ให้เขียนเป็นessay อันเดียว แต่ให้ตอบครอบคลุมให้หมด

ขอยกตัวอย่างข้อสุดท้าย เรื่อง Why HGSE? Why this specific program? จะเห็นว่ามีสองข้อย่อย คือ ทำไมอยากเรียนที่ HGSE และ ทำไมโปรแกรมนี้ แต่บางคนตอบแค่ทำไมอยากเรียนที่ฮาร์วาร์ด แต่ไม่ได้ตอบว่าทำไมโปรแกรมนี้  ก็ถือว่าตอบไม่ครบค่ะ

อันนี้เป็นเรื่องที่มองข้ามไม่ได้เลย ลองนึกดูว่าถ้าเราเป็นคณะกรรมการตัดสิน แล้วอ่านเจองานที่แค่เขียนตอบให้ตรงคำถามยังไม่ได้เลย เราจะอยากรับนักเรียนคนนั้นไหม?

2. พยามยามเขียนให้ครอบคลุมทุกอย่าง

เราอยากให้เขาเห็นว่าเราทำอะไรมาบ้าง ประสบความสำเร็จอะไร ได้รางวัลอะไรมาบ้าง ก็ต้องเขียนเล่าให้หมดทุกอย่างจริงไหม?

Wrong! ผิดเต็มๆจ้ะ!

งานเขียนหรือessayที่ดีนั้น อยู่ที่เนื้อหาที่เลือกมาใส่ ไม่ใช่ความยาว เพราะฉะนั้นถ้าเราเล่าทุกอย่างในชีวิตเรา จะแสดงให้เห็นว่าเราไม่รู้จักแยกแยะว่าอะไรสำคัญไม่สำคัญ

ตัวอย่างข้อแรก จะเห็นว่าเขาอยากรู้ background แต่ไม่ใช่ทั้งหมดนะ! เอาเฉพาะ key experiences ที่ทำให้เรามาสนใจด้านeducation  ถ้าเราเขียนเล่าอันที่ไม่เกี่ยว ถึงแม้ว่าจะimpressiveแต่ก็ตอบผิดคำถาม

3. เขียนกว้างไป ไม่เฉพาะเจาะจงกับตัวเอง

คณะกรรมการให้เขียน Statement of Purpose ก็เพราะว่าอยากจะรู้จักเรา ถ้าเขาแค่อยากรู้แค่ประวัติ ก็ขอแค่ CV/resume ก็พอ จริงไหมคะ?

แต่ที่เขาให้เขียนessayก็เพราะว่าอยากจะดู personalities เข้าใจที่มาของเรา เข้าใจเป้าหมายและ aspirations ในฐานะที่เป็นคนคนๆหนึ่ง (ไม่ใช่แค่ตัวหนังสือหรือคะแนนบนกระดาษ)

แต่หลายๆคนก็เขียนแบบกว้างๆ ไม่กล้าลงรายละเอียด กลัวว่าจะเขียนไม่ตรงกับที่เขาอยากได้ เลยเอากว้างๆไว้ก่อนดีกว่าไม่ผิด ซึ่งเป็นความคิดแบบไทยๆที่มหาวิทยาลัยต่างชาติไม่เข้าใจ

เขาก็สรุปเอาง่ายๆเลยว่า คนนี้ไม่มีอะไรน่าสนใจ หรือไม่สนใจโปรแกรมนี้จริงจัง ก็ผ่านเลย ไม่รับ

4. เขียนให้ตัวเองอ่าน แต่ไม่ได้มองว่าคนอ่านอยากจะรู้อะไร   

ความผิดพลาดนี้เจอเยอะเวลาตอบคำถาม Why do you want to study at …?  (ข้อสุดท้ายจากตัวอย่าง) ส่วนมากจะตอบว่ามหาวิทยาลัยดีอย่างนั้นอย่างนี้ มีชื่อเสียงดี มีอาจารย์เก่งๆเยอะ คือ มหาวิทยาลัยเขารู้อยู่แล้วแหละว่าของเขาดียังไง ไม่ต้องให้เราไปบอกหรอก

เพราะฉะนั้นก็หยุดเขียนอะไรกว้างๆแบบนั้นได้แล้ว

ที่เขาอยากรู้คือ Why do YOU want to study at …? ว่าทำไมเราอยากเรียนที่นี่ ต้องบอกให้ชัดว่าโปรแกรมนี้เหมาะกับคนที่มีประสบการณ์แบบเราอย่างไร?จะให้อะไรที่ตรงกับเป้าหมายในอนาคตของเราบ้าง? ไม่ใช่แค่ว่าที่นี่ดี แล้วก็เลยอยากเรียน เป็นเหตุผลที่ไม่พอค่ะ (ไม่งั้นทุกคนก็เรียนที่เดียวกันหมดสิ)

แต่ไม่ต้องท้อแท้นะคะ สี่เรื่องนี้เป็นสิ่งที่ผิดกันทั้งนั้น โดยเฉพาะตอนที่เริ่มร่าง statement

ขอให้แก้สี่ข้อนี้ก่อนsubmit  โอกาสได้เข้าเรียนต่อท๊อปยูสูงขึ้นแน่นอนค่ะ 😊

✍️ ไม่รู้จะเริ่มเขียน Statement of Purpose อย่างไรให้เตะตากรรมาการ

มาโค้ชกับครูม่อน เพื่อเขียน Statement of Purpose ให้เป๊ะ

รายละเอียดที่   Your Best Statement of Purpose Coaching Program  

More To Explore