fbpx

การเรียนภาษาตามจิตสำนึกและจิตใต้สำนึก

Share This Post

Share on email
Share on facebook
Share on twitter

ตาม Input Hypothesis ของ Krashen  วิธีการเรียนรู้ภาษาที่สองของผู้ใหญ่ มีสองแบบด้วยกัน

1. Acquisition ซึ่งจะเป็นแบบตามจิตใต้สำนึก (subconscious) หมายถึง การเรียนรู้โดยที่เราไม่รู้ตัว

2. Conscious learning ซึ่งเป็นการเรียนแบบที่เรารู้ตัวว่าเรากำลังทำอะไรอยู่

ถึงแม้สมมติฐานนี้จะมีข้อด้อยหลายอย่าง เพราะการมองการเรียนภาษาที่สองตามจิตใต้สำนึกกับจิตสำนึก มันพิสูจน์ได้ยาก แต่ม่อนคิดว่าสมมติฐานนี้ก็ช่วยให้เรามองการเรียนของเราในมุมมองใหม่

วิธีการเรียนแบบรู้ตัว ทุกคนก็รู้จักกันดีอยู่แล้ว เวลาที่เราเรียนภาษาในห้องเรียน พยายามท่องหลักภาษา ทำแบบฝึกหัดแต่งบทความ พวกนี้เป็นสิ่งที่เราฝึกโดยรู้ตัวทั้งนั้น และเราก็รู้ว่ามันมีผลต่อความก้าวหน้าในการเรียนภาษาที่สองของเรา

ส่วนการเรียนแบบไม่รู้ตัวล่ะ มีหลายคนที่claimว่าคนเราสามารถเรียนภาษาโดยไม่รู้ตัวได้ เช่น ฟังเทปตอนหลับ เป็นต้น ซึ่งเราเองก็รู้ไม่แน่ชัดว่าเรื่องนี้จริงแค่ไหน แต่ลองนึกๆดูว่า เราเองก็ได้เรียนภาษาโดยไม่รู้ตัวอยู่เหมือนกัน เช่นดูภาพยนตร์ ฟังเพลงภาษาต่างประเทศ  ซึ่งเราไม่ได้ตั้งใจ แต่ก็ทำให้เราได้ภาษานั้นไปโดยไม่รู้ตัว

กว่าจะถึงวันที่มนุษย์เราสามารถเข้าไปศึกษาจิตใต้สำนึกได้อย่างแท้จริง เราคงจะตัดสินได้ยากว่าการเรียนแบบไหนดีกว่ากัน เมื่อเป็นอย่างนี้ อะไรที่เราทำได้และเราคิดว่าได้ผลสำหรับเราก็ควรจะทำไป วันหนึ่งเราก็จะประสบความสำเร็จในการเรียนภาษาค่ะ

Reference: Brown D. (1993). Principles of language learning and teaching. NJ: Prentice Hall Regents.

More To Explore