อยากฝึกเขียนภาษาอังกฤษ เริ่มจากไหนดี?
ถ้าไม่รู้จะเริ่มจากตรงไหน เริ่มจากสองอย่างนี้ก่อนเลยค่ะ 1.ทบทวน (หรือเรียน) แกรมมาให้แม่นๆ แล้วแต่ระดับภาษาของแต่ละคนนะคะ แนะนำว่าให้หาหนังสือแกรมมามาอ่านและทำแบบฝึกหัดดู ถ้าทำได้ก็อ่านผ่านๆเป็นการทบทวน ถ้าไม่ได้ ก็ต้องเอาให้แม่นค่ะ ไม่อย่างนั้นจะไม่สามารถเขียนให้ถูกต้องได้เลย แกรมมาถือเป็นหัวใจของการเขียนให้ถูกต้องเลยค่ะ หนังสือแนะนำที่ม่อนเคยใช้ก็คือ หนังสือ Understanding and Using English Grammar ของ Betty Schrampfer Azar ค่ะ 2.หัดอ่านหนังสือภาษาอังกฤษให้เป็นนิสัย
เรียนภาษาแบบ “นักท่องจำ” หรือแบบ “นักคิด” ดี?
วันนี้discussกับเพื่อนๆ เรื่องวิธีการเรียนการสอนภาษาต่างประเทศ ตามBrown(1993) เราสามารถแบ่งการเรียนการสอนภาษาต่างประเทศได้สองแบบใหญ่ๆ คือ แบบbehavioristic และ แบบ cognitive โดยแบบbehavioristic คือ เน้นแบบการใช้ภาษาจนชิน ซึ่งเป็นแบบที่เราเรียนกันเป็นส่วนมาก ม่อนจะขอเรียกแบบนี้ว่าแบบ “นักท่องจำ” แล้วกันนะคะ ส่วนแบบcognitive คือ เรียนแบบเข้าใจว่าทำไมต้องเป็นอย่างนี้ ตัวอย่างง่ายๆ ก็เช่น เราคิดว่าทำไมประโยคนี้ถึงต้องใช้tenseนี้ มันทำให้ความหมายเปลี่ยนอย่างไร แทนที่จะท่องเป็นกฏๆไป เป็นต้น
อ่านหนังสือเตรียมสอบ เริ่มตรงไหนดี
ในฐานะที่ผ่านการสอบมาเยอะ ม่อนรู้ว่าเวลาอ่านหนังสือสอบ ไม่ว่าจะสอบเข้ามหาวิทยาลัย สอบทุน สอบโทเฟล GRE หรือสอบอะไรก็ตาม มันจะรู้สึกเหมือนหลงทาง ไม่รู้จะเริ่มจากตรง เล่มนี้ก็ต้องอ่าน ตรงนั้นก็ต้องทวน เลยพาลให้ไม่อยากอ่านซะอย่างนั้น แล้วเราก็ชอบที่จะผัดวันประกันพรุ่งไปเรื่อยๆ เพราะเราไม่รู้จะเริ่มจากตรงไหน ก็เลยไม่เริ่มซะเลยดีกว่า วิธีแก้วิธีหนึ่งก็คือ ไปหาหนังสือที่เราจะอ่านเนี่ยแหละค่ะสักเล่มหนึ่ง(ที่เราคิดว่าดี สมควรแก่การอ่านด้วยนะ) พวกหนังสือเตรียมสอบเนี่ยแหละค่ะใช้ได้ดีมาก แล้วก็นั่งอ่านไปเลยตั้งแต่หน้าแรกนั่นแหละ วันละนิดวันหน่อย ไปเรื่อยๆ พออ่านไปสักพักเราจะเริ่มมีกำลังใจ ทำให้มีแรงอ่านต่อไปเรื่อยๆ ประมาณว่า
อ่านหนังสือเวลาไหนดี
Q: “หนูเคยพยายามจะลุกขึ้นมาอ่านหนังสือตอนตี2(คือเพื่อนบอกว่าให้นอน4ทุ่มแล้วตื่นตี2มาอ่านมันเป็นเวลาที่ดี) แต่หนูก็ลุกขึ้นมาได้ 6 โมง แล้วพออ่านไปมันเหมือนแบบก็เข้าหัวก็ทำได้ แต่เหมือนหัวมันยังไม่ไบรท์เต็มที่อะไรอย่างนั้นหรือยังไงไม่รู้อะค่ะ รู้สึกอึนๆ แต่ก็อ่านได้ ไม่รู้เพราะยังไม่ชินหรึ่อยังไง แต่อ่านตอนกลางคืนก็จะหลับ ถ้าไม่หลับก็จะยาวถึงตี1อะไรงี้ แต่ถ้าตอนกลางวันยิ่งไม่ได้ใหญ่ เหมือนมันไม่มีฟิวว่าอยากจะอ่านน่ะคะ ครูม่อนว่าอาการอย่างนี้ควรอ่านเวลาไหนดีค่ะ?” A: เรื่องเวลาอ่านหนังสือ มันแล้วแต่คนจริงๆค่ะ ครูม่อนเองก็เคยลองมาหมดแล้ว บางคนเขาชอบนอนก่อนแล้วตื่นมาอ่าน แต่สำหรับครูม่อน ชอบอ่านดึกๆค่ะ แล้วค่อยนอน อันนี้เป็นเรื่องส่วนบุคคลจริงๆ มีทฤษฎีอยู่ว่าแต่ละคนจะมีนาฬิกาชีวะที่ไม่เหมือนกันค่ะ
วิธีกระตุ้นสมองให้มีสมาธิอ่านหนังสือ
ม่อนเคยเขียนลงในเวปถึง เรื่องการอ่านหนังสือไปด้วยฟังเพลงไปด้วย http://www.kru-mon.com/?p=57 โดยเขียนจากประสบการณ์ของตัวเองเวลาพยายามสร้างสมาธิในการอ่านหนังสือ เมื่อเร็วๆนี้ม่อนได้อ่านหนังสือเล่มหนึ่งที่ยืนยันประสบการณ์ของม่อนในการหาสิ่งกระตุ้นเพื่อทำให้สมองมีสมาธิในการอ่านหนังสือค่ะ คือ หนังสือ Find Your Focus Zone: An Effective New Plan to Defeat Distraction and Overload by Lucy Jo Palladino ซึ่งม่อนคิดว่าน่าสนใจดี
ไม่มีใครโง่หรือฉลาด เพียงแต่แตกต่างกันเท่านั้นเอง
สิ่งหนึ่งที่ม่อนได้รับจากการเรียนที่ฮาร์วาร์ด คือ วิธีที่เรามองความสามารถของคนในการเรียนรู้ค่ะ ในโรงเรียนหรือในวงการการศึกษา มักจะหนีการlabelไม่พ้น บางคนอาจจะโดนคนอื่นมองว่าเป็นคนเรียนไม่เก่ง บางคนอาจจะโดนว่าเป็นคนหัวช้า เป็นต้น แต่ที่ฮาร์วาร์ด จะสอนว่า คนเรามีความแตกต่างกัน บางคนอาจจะไม่เก่งด้านการเรียนแต่เก่งด้านดนตรี บางคนเก่งด้านกีฬาแต่ไม่เก่งด้านภาษา คนที่ไม่เก่งเรื่องที่สอนในโรงเรียนมักจะโดนมองว่าเป็นคนเรียนช้า หรือไม่เก่ง แต่จริงๆแล้วเขามีความสามารถด้านอื่นที่อาจจะไม่ได้รับการยอมรับในระบบการศึกษา หรือกล่าวในอีกนัยหนึ่งก็คือว่า ความฉลาดหรือความสามารถในการเรียนรู้ของคนเรานั้น ไม่ได้ถือว่ามีใครโง่หรือฉลาด เพียงแต่แตกต่างกันเท่านั้นเอง ไม่ต่างอะไรกับการที่คนมีสีผิวต่างกัน ก็ไม่ได้หมายความว่าคนสีผิวไหนดีกว่าสีผิวไหน เพียงแต่แตกต่างกันเท่านั้นเอง เมื่อมองอย่างนี้แล้ว เป็นประโยชน์อย่างมากต่อการพัฒนาของคนคนนั้นนะคะ