fbpx

กระบวนการจำในสมอง (Memory)

Share This Post

Share on email
Share on facebook
Share on twitter

จะจำให้ได้ดี เราต้องเข้าใจเทคนิคการจำ Memorization techniques ซึ่งวิธีการจำในการเรียนภาษานั้นมีหลายวิธีด้วยกัน แต่ละวิธีก็มีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันไปค่ะ

แต่ก่อนอื่นเรามาทำความเข้าใจ ความจำ (memory) กันก่อนนะคะ

ความจำมีสองระดับ คือ working memory กับ long-term memory

Working memory คือ ความจำที่เราเอาไว้ใช้งานในขณะนั้น คล้ายๆเวลาเราใช้กระดาษทดนั่นแหละค่ะ working memoryมีจำกัด เหมือนเรามีกระดาษทดแค่แผ่นเดียว ถ้าทดเต็มแล้วก็หมด ขอกระดาษเพิ่มไม่ได้ Working memory นั้นประกอบไปด้วย short-term memory คือ ความจำระยะสั้น และก็ active processing ก็คือส่วนที่เอาshort-term memory มาประมวลผลนั้นเอง

Long-term memory คือ ความจำระยะยาว เหมือนข้อมูลที่เราเก็บไว้ในคอมพิวเตอร์นั่นเอง พอจะใช้ก็ไปดึงออกมาใช้ได้

กระบวนการจำว่ากันง่ายๆอย่างได้นี้ค่ะ

Memory

Pathway เป็นอย่างนี้ค่ะ ตอนแรกเรารับรู้ (perceive) ก่อน รับรู้ทางได้ยินหรือทางการอ่านก็ได้ทั้งนั้น จากนั้นสิ่งที่เรารับรู้ก็จะถูกประมวลผล (process) ตอนนี้ข้อมูลอยู่ใน working memory ซึ่งจะอยู่ได้ไม่นาน จากนั้นถ้ามีcondition ที่เหมาะสม ข้อมูลก็จะย้ายไปอยู่ใน long-term memory ส่วนใน working-memory ก็จะถูกลบไปเพื่อให้ว่างที่จะสามารถรับข้อมูลใหม่ได้

แน่นอนว่าเวลาเรียนภาษาเราก็อยากให้ภาษาอยู่ใน long-term memory  ใช่ไหมคะ ในโพสต์ต่อๆไปเราจะมาดูกันว่าจะใช้วิธีอะไรมาช่วยให้สิ่งที่เราเรียนมาอยู่ใน long-term memory ได้บ้าง

More To Explore