fbpx

เรียนภาษาอังกฤษ ท่องจำดีไหม (rote memorization)

Share This Post

Share on email
Share on facebook
Share on twitter

วิธีจำที่เก่าแก่ที่สุดที่เราต้องพูดถึงก็คือ การท่องจำ (rote memorization)   นั่นเอง วิธีนี้ใช้หลักการทำซ้ำๆ (repetition)คือ ท่องซ้ำๆจนจำได้ ไม่ต้องคิดมาก ท่องแล้วท่องอีก เดี๋ยวก็กลายเป็น long-term memory ไปเอง

หลายๆคนบอกว่าถ้าท่องภาษาอย่างเดียว จะทำให้ใช้ภาษาไม่เป็น ซึ่งครูม่อนเห็นด้วยนะคะ แต่ว่าการท่องจำก็มีข้อดีของมันอยู่เหมือนกัน เราแค่ต้องเลือกใช้ให้เหมาะสมกับเป้าหมายเราเท่านั้นเองค่ะ

การท่องจำเหมาะกับกรณีไหน

  • อย่างแรกเลยคือ ตอนเริ่มเรียนใหม่ๆ เริ่มจากศูนย์เลย เช่น ABC หรือจำคำทักทายง่ายๆ เช่น Hi, Hello, How are you? พวกนี้ท่องไปเลยง่ายกว่า เพราะเรายังไม่มีเบสิก
  • ถัดมาคือ พวกคำนามที่เป็นรูปธรรม(concrete nouns) ที่ไม่ได้เข้าใจยากอะไร พวกนี้ท่องไปเลยได้ อย่างที่ตอนเด็กที่โรงเรียนให้ท่อง Monday, Tuesday, …. หรือ January, Feburary, .. หรือท่องสูตรคูณ
  • กริยาสามช่อง จำกันได้ไหมคะ ตอนเด็กๆครูม่อนก็ไม่ชอบท่องเหมือนกัน พอโตมาถึงรู้ว่ามีประโยชน์มาก ไปต้องคอยไปเปิดดู
  • Phrasal verbs หรือ collocations ในการใช้ภาษาอังกฤษนั้น บางคำก็ใช้ได้กับบางคำเท่านั้น เช่น  phrasal verb คือ verbบางคำจะต้องใช้กับ preposition บางคำเท่านั้น ตัวอย่างเช่น

Apply to something  —> apply to universities

Apply to do something —> apply to vote

Apply for something —> apply for a job

พวกนี้ ถ้าเราท่องไปเลยก็จะไม่ใช้ผิดค่ะ วิธีท่องให้จำได้และเอาไปใช้ถูกก็คือ ท่องตัวอย่างไปเลย อย่างกรณีนี้ก็ท่อง “apply to universities” “apply to vote” “apply for a job” พอเราจำอย่างนี้ได้ เวลาเราจะใช้เราก็มานึกดูก็จะเอาไปใช้ถูกค่ะ

ท่องแบบนี้ยังช่วยให้เราจำ collocations ได้ด้วย ก็คือ คำที่ปกติจะใช้คู่กัน เช่น strong coffee กับ heavy drinker เราจะไม่ใช้ว่า strong drinker กับ heavy coffee ใช่ไหมคะ  แบบนี้คือถ้าเราพูดให้ชินปากไปเลยว่า strong coffee กับ heavy drinker เราก็จะใช้ได้ถูกค่ะ

เราพูดถึงข้อดีไปแล้ว มาพูดถึงข้อเสียกันบ้าง

เนื่องจากการท่องจำนั้น เราไม่ได้ต้องทำความเข้าใจ (comprehension) หรือ ใช้คิดไตร่ตรองอย่างลึกซึ้ง (deep processing) หรือใช้อารมณ์ (emotion) ดังนั้น neural pathway ที่เกิดขึ้นก็จะไม่ลึกพอที่จะเป็น long-term memory ได้ง่ายๆ ก็เลยต้องทำซ้ำหลายๆครั้ง ซึ่งอาจจะไม่เหมาะกับคนที่ไม่ค่อยมีเวลาเยอะนัก

ข้อเสียอีกอย่าง ถ้าต้องเอาสิ่งที่ท่องไปใช้ในสถานการณ์ (context) ที่แตกต่างจากอันที่ท่อง เราจะทำได้ช้า ยกตัวอย่างเช่น ถ้าเราท่องการสะกดคำว่า perceive โดยท่องว่า p-e-r-c-e-i-v-e  พอเราต้องเขียนคำนี้ เราก็จะเขียนได้เร็ว แต่ถ้าจำกฏว่า  “I before e except after c” เวลาเราจะเขียนคำว่า perceive เราต้องมาคิดก่อนว่า เอ คำนี้ e กับ I มันอยู่หลัง c หรือเปล่า แล้วค่อยเขียน มันจะช้ากว่าค่ะ   อีกตัวอย่างคือ ถ้าเราท่องกริยาสามช่อง run ran run ถ้าข้อสอบถามกริยาสามช่องตรงๆ ให้เติม run, _____, _____  เราก็จะตอบได้เร็วว่า run, ran, run แต่ถ้าข้อสอบให้เติม Today I have just ______ 3 km. เราต้องมานึกก่อนว่า run, ran, run โอเค ช่องสามคือ run แล้วค่อยเติมไปว่า Today I have just run 3 km.

สรุปข้อดีข้อเสียของการท่องจำ

ข้อดี (advantages)

  • ง่าย ไม่ต้องมีพื้นฐาน ไม่ต้องทำความเข้าใจ
  • เป็นวิธีช่วยให้จำสิ่งที่เป็นพื้นฐานในการเรียนระดับสูงต่อไป

ข้อเสีย (disadvantages)

  • เสียเวลา ต้องทำซ้ำหลายครั้ง
  • มักไม่ช่วยให้เข้าใจ
  • เวลาจะเอามาใช้ใน context ที่ต่างจากอันที่ท่องจะทำได้ช้า

จากที่เห็นว่าการท่องจำก็มีทั้งข้อดีข้อเสีย เพราะฉะนั้นเราจะท่องอย่างเดียวได้ ต้องใช้วิธีอื่นด้วย ซึ่งเราจะมาต่อกันคราวหน้าค่ะ

More To Explore