fbpx

จำศัพท์ให้เป๊ะตามหลักการทำงานสมอง

ท่องศัพท์แล้วจำไม่ได้สักที เป็นเพราะเราไม่ได้เรียนvocab ตามหลักการทำงานของสมอง ใช้หลักตามนี้ จะทำให้เรียนศัพท์ได้เร็วขึ้น ง่ายขึ้น และนำไปใช้ได้จริงแน่นอนค่ะ

Share This Post

Share on email
Share on facebook
Share on twitter

จะเรียน English vocabulary ให้ดี ต้องทำอย่างไร?

เรียนตามหลักการทำงานของสมองเลยค่ะ จำได้เร็วขึ้น เข้าใจมากขึ้น อย่างแน่นอน

 

หลักการทำงานของสมองที่เราใช้ในการเรียนคำศัพท์ 
  • Connection สมองคนเราจำความรู้ใหม่ด้วยการสร้าง connection กับสิ่งที่เรารู้อยู่แล้ว
  • Story สมองจำเรื่องราว (story) ได้ดีกว่าข้อมูลรูปแบบอื่นที่ไม่เป็นstory
  • Chunking การแบ่งและรวมข้อมูลที่มีความหมายใกล้เคียงกัน (meaningful) มาอยู่ด้วยกัน จะทำให้จำและดึงข้อมูลออกมาใช้ได้ดี

Dr. Flanigan ได้สรุปหลักการเรียนคำศัพท์ภาษาอังกฤษไว้  5 ข้อ ดังนี้

1. Definition 

ศึกษา a clear definition (ความหมายที่ชัดเจน) โดยเน้นความหมายส่วนที่สำคัญ (essence) ของคำนั้นๆ

เข้าใจ what the word means และ what it doesn’t mean

** เรื่องนี้ต้องเข้าใจระดับภาษาของตัวเองด้วย ถ้าเรากำลังเริ่มต้นเรียน ให้โฟกัสเฉพาะความหมายที่สำคัญ ที่ใช้เยอะก่อน ยังไม่ได้คำนึงถึงความหมายอื่น เพราะการเริ่มเรียนอะไรก็ตาม ควรเริ่มจากระดับหยาบก่อนแล้วค่อยไป fine tune ให้เข้าใจมากขึ้น 

คำแนะนำนี้รวมถึงเรียนคำระดับที่สูงขึ้นด้วย เช่น ภาษาเราอาจจะดีในระดับหนึ่งแล้ว แต่พอเราจะเริ่มเรียนคำในระดับสูงขึ้น เช่น academic หรือ เพื่อสอบ GRE   ถ้าคำไหนที่ยากมากๆสำหรับเรา ให้เริ่มจากความหมายและ context ที่เจอบ่อยๆก่อน (ตาม 4 ระดับของการเรียนคำศัพท์)

2.Context

เรียนศัพท์ใหม่ใน context ที่ใช้จริง คือ เรียนจากประโยคที่ใช้คำนั้นๆ ซึ่งเป็นการสร้าง connection ระหว่างคำนี้กับ context ที่เจอคำนี้ด้วย (ทำให้เรานำคำนี้ไปใช้เป็น) ซึ่ง context นั้นรวมหลายอย่าง เช่น grammatical structure (โครงสร้างที่มาก่อนและหลังคำนั้น)และ collocations (คำอื่นๆที่มักใช้คู่กับคำนั้น) เป็นต้น

3.Connection

ต้องสร้าง connection (การเชื่อมต่อ) ระหว่างคำศัพท์นั้นกับ concept ของมัน ซึ่ง concept ของคำนั้นๆเราก็มักจะเข้าใจกันอยู่แล้ว ให้เราสร้าง connection ระหว่าง vocab นั้นกับ concept ที่เรารู้จักอยู่แล้วจะทำให้จำได้ง่ายขึ้น

สำหรับ connection  การเชื่อมโยงกับ synonyms ก็ช่วยได้บ้างค่ะ เพราะว่า synonyms เราจะรู้จัก concept อยู่แล้ว ก็เอาคำใหม่มาเชื่อมได้

ถ้าเรานึกเป็นเรื่องราวได้ยิ่งจำได้ดี เพราะตามหลักการทำงานของสมอง คนเราจำเรื่อง (story) ได้ดีกว่าคำอธิบายที่ไม่เป็นstory

ตามหลักการทำงานของสมอง คือ การเชื่อมต่อสิ่งใหม่กับสิ่งที่รู้แล้ว จะทำให้จำได้ดีขึ้น

4.Morphology

คือ โครงสร้างของคำ Structure of words ซึ่งก็คือ ส่วนประกอบของคำนั้นๆ ได้แก่ base word, roots, suffix, affix เป็นต้น

อันนี้ช่วยจำได้ดี เพราะว่าเราใช้หลักคือ break the word down into meaningful parts ซึ่งก็คือ การสร้าง connection นั่นเอง

5.Chunking 

Chunking ตรงกับการทำงานของสมองเพราะสมองเราจะพยายามหาpattern และสร้าง connectionเสมอ คือ คนเราจะจัดเรียงความรู้ในตาม categories หรือ โครงสร้างที่ makes sense สำหรับเรา และทำให้สามารถดึงความรู้ออกมาใช้ได้เร็วขึ้นด้วย (retrieval)

คล้ายๆกับ file และ folder ในคอมพิวเตอร์นั่นแหละค่ะ ถ้าเราจัดดี เราก็หาเจอ ถ้าเราไม่เคยจัดเลย จะหาอะไรก็หาไม่เจอ จริงไหมคะ?

ลองเปรียบเทียบวิธีนี้กับการเรียนทั่วๆไปที่เรามักจะเจอในหนังสือ คือ เรียงคำตามตัวอักษร A-Z  แบบนี้ ไม่มี make sense เลยทำให้จำยาก

ลองมาดูตัวอย่างกันค่ะ 

คำศัพท์:     Conjecture (noun) 

1.Definition: An opinion or an idea not based on evidence of information 

2.Context: The truth of his conjecture was confirmed by the newspaper report.

3.Connection: ลองคิดถึงตัวอย่างของ conjecture ในชีวิตเราว่ามีอะไรที่เป็นสิ่งที่เดาเอาโดยไม่มีหลักฐานไหม แล้วก็นึกภาพนั้นเวลาคิดถึง conjecture

ถ้าเรานึกเป็นเรื่องราวได้ยิ่งจำได้ดี 

ตอนเรียนคำนี้ ครูจำได้ว่ามีประโยคที่ใช้ในซีรีส์ Friends (ที่ครูดูหลายรอบจนจำได้) มีตอนหนึ่งที่ Ross สอนหนังสือที่มหาวิทยาลัย แล้วมีนักเรียนถามว่า Velociraptor ส่งเสียงยังไง Ross ก็ทำเสียงออกมา แล้วบอกว่า “Of course, this is just conjecture.” เพราะว่าจริงๆก็ไม่มีใครรู้ว่าไดโนเสาร์ทำเสียงยังไง แต่เราก็สร้างสมมติฐานจากหลักฐานที่มีได้  ครูก็นึกถึงซีนนี้ แล้วก็ทำความเข้าใจความหมายของ conjecture แถมยังได้ context ด้วย (ซึ่งก็คือ academic หรือ formal)

อีกวิธีคือ ดูว่า synonym ของ conjecture คือ guess ก็เชื่อมโยงสองคำนี้เอาก็ได็

4.Morphology: Prefix con- แปลว่า ‘together’ 

Root  ject แปลว่า  ‘throw’ (เช่น ใน projection) พอเอามารวมกันก็แปลได้คือ เอามาโยนๆรวมกัน พวกการเดาแบบ conjecture ก็ลองจำว่า เอาสิ่งที่เดามารวมๆกันได้เป็น conjecture 

5.Chucking: เวลาจะเรียนคำนี้ ก็ให้เอามาจัดเรียงเป็นกลุ่มกับคำอื่นที่ใกล้ๆกัน เช่น speculation, presumption, assumption เป็นต้น

 

ลองใช้ 5 หลักนี้ดูนะคะ จะทำให้เรียนศัพท์ได้เร็วขึ้น ง่ายขึ้น และนำไปใช้ได้จริงจ้ะ 

เพื่อนๆมีความคิดเห็นอย่างไรกับหลักท่องศัพท์ 5 อย่างนี้บ้าง? ครูเชื่อว่ามีหลักบางข้อที่เราทำอยู่แล้ว ใช่ไหมคะ? ก็เพิ่มหลักอื่นเข้าไป ทำให้เก่งศัพท์อังกฤษได้แน่นอนค่ะ

References

Beck, Isabel L., Margaret G. McKeown, and Linda Kucan. (2002). Bringing Words to Life: Robust Vocabulary Instruction. New York: Guilford.

Celce-Murcia, M., Brinton, D. M. & Snow, M. A. (2014). Teaching English as a Second or Foreign Language (4th ed). Boston, MA: National Geographic Learning.

Dale, Edgar, and Joseph O’Rourke. (1986) Vocabulary Building. Columbus, OH: Zaner-Bloser.

Flanigan, Kevin. (2015). Building a better vocabulary. Chantilly, Virginia: The Great Courses.

Lee, C. (2018). The vocabulary builder workbook: Simple lessons and activities to teach yourself over 1,400 must-know words. Emeryville CA: Zephyros Press.

Willingham, Daniel T. (2009). Why don’t students like school?: A cognitive scientist answers questions about how the mind works and what it means for the classroom. San Francisco, CA: Jossey-Bass.

Oxford advanced learner’s dictionary 8th edition.

Updated: October 1, 2020

More To Explore