fbpx

รู้จักกับ rubric ในการเขียน essay

Share This Post

Share on email
Share on facebook
Share on twitter

ก่อนอื่นขอแนะนำตัวว่าบทความนี้เป็นบทความแรกที่ผมเขียนขึ้นให้กับ KruMon English Academy หลังจากที่ทำงานอยู่เบื้องหลังเป็นเป็นส่วนใหญ่ โอกาสนี้ผมอยากแชร์ประสบการณ์การศึกษาต่างๆที่ได้ประสบมาระหว่างการเรียนที่มหาวิทยาลัย Strathclyde ประเทศสก็อตแลนด์ ดังนั้นจึงอาจมีความแตกต่างบ้างกับมหาวิทยาลัยฝั่งสหรัฐอเมริกา หรือกับมหาวิทยาลัยที่อื่นๆ
เรื่อง rubric นี้เป็นเครื่องมือที่ดีมากๆในการปูแนวทางการเขียน กำกับ สะท้อน และทำให้เราเขียนได้ครอบคลุมทุกแง่มุมตามที่อาจารย์ต้องการได้เป็นอย่างดี นักเรียนคนอื่นๆ อาจรู้จักและใช้ประโยชน์จาก rubric ในการเขียน individual essay กันเป็นอยู่บ้างแล้ว ส่วนตัวผมเพิ่งจะรู้จักใช้มันเมื่อเรียนปริญญาโท และกว่าจะใช้เป็นก็ต้องปรึกษาเพื่อนฝรั่งกันอยู่นานเลยทีเดียว

Rubric แปลตามตัวแปลว่าหัวข้อที่เขียนด้วยสีแดง มีที่มาคือ โบสถ์ในศาสนาคริสต์จะมีการเขียนกำหนดการด้วยหมึกแดง เพื่อทุกคนปฏิบัติศาสนกิจให้เป็นแนวทางเดียวกัน คำเดียวกันนี้เมื่ออยู่ในบริบทการศึกษา จะหมายถึงเกณฑ์การให้คะแนนที่อาจารย์ใช้อ้างอิงเวลาตรวจงาน essay อาจเป็นที่น่าสังเกตว่าเป็นสีคุ้นตาเดียวกับหมึกที่อาจารย์มักจะใช้เวลาตรวจงาน

หน้าตาของ rubric จะเป็นตารางที่จำแนกไว้อย่างชัดเจนว่า การได้คะแนน 55 (acceptable) – 60 (very good) – 70 (excellent) – 80 (outstanding) % นั้นมีจะองค์ประกอบและเกณฑ์อะไรบ้าง แต่ที่เรามักจะไม่เจอคือหัวตารางจะไม่ได้เขียนว่า rubric แต่อาจเขียนว่า grading criteria หรือ marking guidelines แทน ตารางเดียวกันนี้แหละที่ฝรั่งเขาจะเรียกกันว่า rubric นักเรียนก็จะเอาไว้ใช้ดูตลอดเวลาเขียน ส่วนอาจารย์ก็จะใช้เพื่อให้คะแนนกับเรา ซึ่งจะทำให้เกิดความชัดเจนว่าเพราะอะไรเราถึงได้คะแนนในช่วงนี้ แบบที่ทำให้เราเถียง. เราจะพบตารางนี้ได้ตามท้าย syllabus หรือ handbook ที่อาจารย์จะแจกให้ก่อนเริ่ม module หรือวิชาหนึ่งๆ

Rubric ทำให้เราเขียน essay ตอบได้ตรงความมุ่งหมายของวิชานั้นๆ มันจะบอกเป็นข้อๆว่าอะไรบ้างที่สำคัญ เช่น reflective learning, เนื้อหาเขียนในระดับสูง, มีการเขียนเชิงวิจารย์วิเคราะห์แบบ critical, มีการใช้อ้างอิงจำนวนเหมาะสม มาจาก author ที่เชื่อถือได้ และมีความทันสมัย, หากมีการเก็บข้อมูล ก็ต้องเขียนแสดงให้เห็นว่ามีแนวทางในการเก็บข้อมูลที่ดี วิเคราะห์ได้เหมาะสม, ส่วนลักษณะการเขียนก็ต้องเขียนนำเสนอข้อโต้แย้ง (argument) ได้น่าเชื่อถือ, สุดท้ายก็ต้องนำเสนอว่าเราได้ความรู้อะไรใหม่ๆ หรือ insight อะไรจากการเขียนบทความนี้ (อย่าลืมว่าการเขียนก็เป็นการคิดในรูปหนึ่ง)..

จะเห็นได้ว่าจริงๆแล้วการเขียนให้คะแนนดีๆนั้น ไม่ใช่แค่เรื่องการเขียนให้มีโครงสร้าง essay structure ที่ดี เขียนถูกหลักไวยากรณ์ หรือใช้ศัพท์หรูๆเป็นเชิงวิชาการเพียงเท่านั้น แต่ยังมีองค์ประกอบอีกมากที่เราต้องคำนึงถึง ในแง่หนึ่ง ก็อาจเป็นประโยชน์สำหรับคนที่ยังเขียนไม่คล่อง เพราะว่าเราสามารถไปโฟกัสตรงจุดอื่นๆได้เพื่อให้ได้คะแนนมากขึ้น อยากให้ลองคิดว่าภาษาเป็นเครื่องมือสื่อสารความคิดของเรา อย่ากังวลเรื่องไวยากรณ์จนเกินไปในตอนแรกจนทำให้เขียนไม่ออก.. เหมือนที่ผมก็เป็นอยู่บ่อยๆนะครับ

More To Explore

หนังสือแนะนำสำหรับผู้เขียนธีสิสและวิทยานิพนธ์
เทคนิคการเรียน

หนังสือ แนะนำสำหรับผู้เขียนธีสิสและวิทยานิพนธ์

👉 ดาวน์โหลด eBook หนังสือเด็ดสำหรับเขียนธีสิสและวิทยานิพนธ์ หากใครที่กำลังมองหา หนังสือ ดีๆ สำหรับเป็น Guide ในการเขียนธีสิสหรือทำวิทยานิพนธ์อยู่หล่ะก็