fbpx

อ่านอย่างไรถึงจะเขียนเก่ง?

Share This Post

Share on email
Share on facebook
Share on twitter

ใครบ้างที่คิดว่าอ่านเยอะๆแล้วทำให้ภาษาดีขึ้น ทำให้เขียนได้เก่งขึ้น?

ครูม่อนคิดว่าทุกๆคนก็คงรู้ และเชื่อแบบนี้ ซึ่งมันก็จริงค่ะ ไม่ว่าจะเรียนภาษาอะไร การใช้ภาษานั้นทำให้ภาษาดีขึ้นแน่นอน โดยเฉพาะเรื่องการเขียนนั้น แน่นอนว่าอย่างน้อยก็ต้องอ่านเป็นบ้าง ถึงจะเขียนดีขึ้น

วันนี้ครูจะพูดถึงสองเรื่องด้วยกัน 

  1. การอ่านนิยายเพื่อเรียนภาษาและพัฒนาการเขียน
  2. สิ่งที่ควรรู้ไว้สำหรับการปรับใช้ให้เข้ากับงานเขียนของเราเอง

 

เรื่องแรก คือ อ่าน fiction (นิยาย)  เพื่อเรียนภาษาและพัฒนาการเขียน

เมื่อก่อนครูเป็นคนที่เลือกจะอ่านแต่ non-fiction (งานเขียนจากเรื่องจริง้ฟะ รวมถึงความรู้ต่างๆ) เท่านั้น ตอนนั้นช่วงเรียนที่จุฬา คิดว่าอยากจะอ่านหาความรู้ให้เยอะๆ และให้เก่งภาษาอังกฤษด้วย 

คิดว่าความรู้ก็ต้องมาจาก non-fiction เท่านั้น ถ้าอ่าน fiction จะเสียเวลาช่วงนั้นก็พูดจริงๆว่าอ่านไปเยอะมาก ได้ความรู้เยอะมาก ตอนนั้นอ่านเรื่อง จิตวิทยา เรื่อง การฝึกสมอง เรื่องวิทยาศาสตร์

เพิ่งมารู้สึกตอนที่เรียนปริญญาเอกว่า อ่าน non-fiction เนี่ยมันก็น่าเบื่อนะ คือตอนเรียนเอกมันต้องอ่านเยอะไง อ่านเยอะจนเบื่อ เลยหันไปอ่านนิยายบ้าง ถึงได้รู้ว่าอ่านนิยายเนี่ยแหละก็ได้ภาษาเยอะ แล้วไม่ใช่ได้แต่ภาษานะ ยังได้เข้าใจความคิดเห็นความรู้สึกของคนอื่นด้วย  งานวิจัยมีบอกว่า คนที่อ่านนิยายจะมี emphathy เพิ่มขึ้น เพราะว่าได้หัดคิดได้เห็นความรู้สึกของคนอื่น (other point of view) 

สำหรับในด้านภาษานั้น ครูคิดผิดไปเยอะเลย ใครว่าอ่านนิยายแล้วไม่ได้ความรู้ ไม่ได้คำศัพท์วิชาการนั้นไม่จริง มันขึ้นอยู่กับว่าเราอ่านนิยายแบบไหน ตอนครูอ่าน The Gentleman in Moscow ครูได้ความรู้ได้คำศัพท์เรื่องประวัติศาสตร์และการเมืองเยอะมาก ถึงขึ้นว่าอ่านๆไปต้องหยุดคิด (เรื่องการเมือง) เพราะเราไม่เข้าใจ บางทีก็ต้องไป google เพิ่มเพราะเราอยากเข้าใจเหตุการณ์ให้มากขึ้น 

โดยไม่ต้องบังคับตัวเองให้เรียนเพิ่มเลย

อันนี้แหละคือพลังของการอ่านนิยาย

ถ้าถามว่าอยู่ๆครูจะบังคับให้ตัวเองไปหาความรู้เรื่องประวัติศาสตร์การเมืองของรัสเซีย ก็คงไม่ทำ แต่พออ่านนิยายเรื่องนี้แล้ว อยากทำไปเองโดยไม่ต้องบังคับ

ใครอยากเรียนภาษาจากการอ่านนิยาย ครูมีคำแนะนำอย่างนี้คะ

  1. ตัดสินใจก่อนว่าภาษาเราอยู่ระดับไหน อันนี้ไม่ต้องอาย เอากันตรงๆเลย ไม่มีใครรู้อยู่แล้ว อยู่ที่ตัวเราเอง
    • ถ้าเป็นคนไม่ชอบอ่านหนังสือเลย แนะนำว่าให้เลือกเล่มที่เราอ่านได้ง่ายๆเลย คือไม่ต้องเปิดดิกก็อ่านได้ เพราะว่าเป้าหมายเราคือทำให้ชอบอ่านเป็นนิสัยก่อน 
    • ถ้าเป็นคนที่พอชอบอ่านหนังสืออยู่บ้าง แนะนำว่าให้เลือกระดับที่สูงกว่าระดับภาษาตัวเองนิดนึง (นิดเดียวนะ) คือ เลือกหนังสือที่เราอ่านแล้วพอเข้าใจโดยไม่ต้องเปิดดิก แต่มีสิ่งที่เราไม่เข้าใจอยู่บ้าง คือ อาจจะนานๆที หน้าสองหน้าแล้วต้องเปิดดิกบ้างจะกำลังดี  อันนี้ตามหลักการเรียน zone of proximal development คือ่วา คนเราจะเรียนได้ดีต่อเมื่อกิจกรรมการเรียนนั้นยากกว่าระดับปัจจุบันนิดหน่อย คือ ให้เราต้องพยายาม แต่ต้องไม่ให้มากเกินไปจนเกิด anxiety 
  2.  วิธีเลือกหนังสือ ให้ไปร้านหนังสือหรือห้องสมุด  เลือกgenre ที่เราสนใจ แล้วลองเปิดอ่านดูสองสามหน้าว่าเราเข้าใจไหม ถ้ามันยากไปก็เปลี่ยนเล่ม 
    • บางทีเราก็ต้องใช้เวลาลองผิดลองถูกจนกว่าจะเจอแนวที่เราชอบ 
    • ร้านหนังสือและห้องสมุดดีๆเขาจะแยกตามระดับภาษาด้วย ถ้าภาษาเรายังไม่ดี ก็อ่านหนังสือเด็กได้นะ ตอนครูม่อนเรียนภาษานอร์เวย์กับภาษาจีน ก็เริ่มอ่านหนังสือเด็กก่อน ไม่เห็นต้องอาย ปัจจุบันมีหนังสือเด็กเยอะแยะที่เนื้อหาน่าสนใจไม่น่าเบื่อ ถึงแม้ว่าผู้ใหญ่จะอ่านก็ตาม 
    • อย่าลืมพวก graphic novels หรือ manga จะอ่านการ์ตูนก็workนะ ช่วยได้เยอะเลย ครูเองก็เรียนภาษาจากการ์ตูนเหมือนกัน  เดี๋ยวนี้การ์ตูนภาษาอังกฤษเยอะมาก ใครชอบอ่าน Japanese manga อยู่แล้วก็ไปหาภาษาอังกฤษได้ เดี๋ยวนี้มีแปลเยอะมากจ้า
  3. สำหรับระดับหนังสือจะมี children, middle grade (MG), young adult  (YA), adult ระดับอายุจะตามนี้ค่ะ
    • Children < 8 years old
    • Middle grade  8-12 years old
    • Young Adult  12-18 years old
    • Adult  > 18 years old

แต่มันไม่หมายความว่าต้องอายุเท่านี้ถึงอ่านได้นะ มักจะหมายความว่าให้เริ่มจากอายุเท่านี้ เช่น ถ้า middle grade  ก็ควรจะต้องอายุ  8  ปีขึ้นไป เพราะว่าจะมีเนื้อหาและภาษาที่ไม่เหมาะกับเด็กอายุต่ำกว่านั้น คล้ายๆกับ rating หนังหรือทีวีค่ะ สำหรับผู้ใหญ่อ่านได้หมดอยู่แล้ว 

ใครอยากได้ suggestions เพิ่มเติมสำหรับหนังสือแนะนำในระดับต่างๆ มีลิงค์อยู่ข้างล่างจ้ะ

โดยส่วนตัวแล้วไม่ค่อยแนะนำ graded readers เท่าไหร่ หลายๆคนคงจำได้ที่เคยอ่านเป็นหนังสือนอกเวลาสมัยเรียน ที่เอาclassics มาทำให้ภาษาง่ายขึ้นให้ English language learners อ่านง่าย ครูคิดว่ามันค่อนข้างน่าเบื่อ ยิ่งทำให้หลายๆคนเกลียดการอ่านภาษาอังกฤษไปเลย เพราะระดับภาษามันไม่ตรงกับเนื้อเรื่อง   แต่ถึงอย่างนั้นก็ตาม เดี๋ยวนี้มี graded reading ที่เนื้อหาปัจจุบันมากขึ้น ถ้าเป็นแบบนั้น แล้วเราสนใจเนื้อหา ก็อ่านได้ดีค่ะ

4. Genres นั้นให้เลือกสิ่งที่เราสนใจ แต่ถ้าใครที่รู้สึกว่าภาษายังไม่ดี ครูแนะนำว่า comtemporary ซึ่งคือนิยายที่เขียนเกี่ยวกับเรื่องราวปัจจุบัน จะอ่านง่ายหน่อยค่ะ     

5. สิ่งสำคัญที่สุดคือ เราต้องเห็นว่าหนังสือเล่มนั้นน่าสนใจค่ะ

 

เรื่องที่สอง  คือ สิ่งที่ควรรู้ไว้สำหรับการปรับใช้ให้เข้ากับงานเขียนของเราเอง

ข้อควรระวังเมื่อเรียนwritingจากการอ่านก็คือ เราต้องเข้าใจว่าภาษาจะแตกต่างกันไปตามจุดประสงค์ คือ บางทีเราเรียนvocab เรียนโครงสร้างประโยค จากนิยาย อาจจะเอามาใช้กับ academic หรือ business writing  ไม่ได้โดยตรง ต้องมีการปรับเปลี่ยน

หลายๆคนบอกว่า แบบนี้รู้อยู่แล้ว จะไปเอาภาษานิยายมาใช้กับ formal writing ได้ยังไง 

แต่สำหรับคนที่เรียนภาษาแบบเรา บางทีเราจะลืมค่ะ ว่าเราเอาความรู้นี้มาจากไหน บางทีมันเขียนไปเองอัตโนมัติ เช่น ในนิยาย ประโยคจะไม่สมบูรณ์เสมอไป fragment  และ run-on sentence เป็นที่ยอมรับกันในการเขียนนิยาย เพราะว่าสิ่งสำคัญในนิยายคือการให้มีจังหวะ rhythmn ของภาษาที่ทำให้ผู้อ่านเกิดอารมณ์ร่วม ซึ่งบางทีก็ต้องใช้คำ วลี หรือ ประโยคสั้นๆ ทำให้ไม่เป็น complete sentences  แต่เวลาเราเขียนทางการ เราต้องคอยดูว่าประโยคเราสมบูรณ์หรือไม่บางทีถ้าเราอ่าน historical fiction หรือ fantasy คำบางคำมันก็จะไม่เหมาะสมในเวลาปัจจุบันแล้ว ก็ต้องคอยดูด้วย 

แต่อย่ากังวลค่ะ อ่านไปเถอะ เวลาเขียนนั้นเรื่องพวกนี้เราค่อยมาดูให้ revision and editing stages คือ เวลาเขียนรอบแรกก็เขียนไปก่อน ไม่ต้องกลัวจะผิด พอจะแก้ค่อยมาดูเรื่องพวกนี้

Let’s read together. 

 

แนะนำหนังสือ

16 Middle Grade Books Every Adult Needs To Read

12 Middle Grade Novels That Any Adult Will Enjoy

YA Books that Adults will Love

More To Explore