Writing with Confidence ทำอย่างไรให้กล้า เขียนภาษาอังกฤษ
สาเหตุที่หลายๆคนกลัว การเขียนหรือ Writing ก็คือ “กลัว” การเขียนผิด
มีใครบ้างที่เวลาเขียน มีเสียงในหัวว่า
“เขียนผิดอีกแล้ว ไม่ได้เรื่องเลย”
“ประโยคนี้ถูกแกรมม่าไหม”
“เขียนตั้งนานได้ไม่กี่บรรทัดเอง แล้วเมื่อไหร่จะเสร็จ”
พอมีเสียงในหัวแบบนี้ แล้วทำให้เขียนตะกุกตะกัก เขียนแล้วแก้ เขียนแล้วลบ เขียนแล้วไม่รู้ต้องแก้ตรงไหน เป็นชั่วโมงไม่ถึงไหนสักที เป็นอย่างนี้บ่อยๆเข้าก็หมดความมั่นใจ
เรื่องนี้ยิ่งเป็นเยอะเวลาเขียนภาษาอังกฤษ เพราะจะกลัวผิดแกรมม่า กลัวใช้คำผิด คิดประโยคไม่ออก
วิธีแก้ คือ เราต้องเข้าใจว่า การกลัวเขียนผิดนั้นเป็นเรื่องปกติที่ไม่ว่าจะเขียนเก่งขนาดไหนก็ยังเป็น
สิ่งที่ต้องรู้เพื่อเพิ่มความมั่นใจใน การเขียน
พอมีเสียงในหัวแบบนี้ แล้วทำให้เขียนตะกุกตะกัก เขียนแล้วแก้ เขียนแล้วลบ เป็นชั่วโมงไม่ถึงไหนสักที เป็นอย่างนี้บ่อยๆ เข้าก็หมดความมั่นใจ
เรื่องนี้ยิ่งเป็นเยอะเวลาเขียนภาษาอังกฤษ เพราะจะกลัวผิดแกรมม่า กลัวใช้คำผิด คิดประโยคไม่ออก
วิธีแก้ คือ เราต้องเข้าใจว่า การกลัวเขียนผิดนั้นเป็นเรื่องปกติที่ไม่ว่าจะเขียนเก่งขนาดไหนก็ยังเป็น
1. กระบวน การเขียน (Writing Process)
เมื่อก่อนครูเขียนแบบที่เคยเรียนตอนอยู่เมืองไทย คือ เอาหัวข้อหรือคำสั่งมาขึ้นหัวกระดาษแล้วเริ่มเขียนตั้งแต่ต้นจนจบเลย แล้วก็มาแก้แกรมม่า จบแล้วส่งเลย
แต่พอเรียนที่ Harvard และ UCLA ถึงรู้ว่าจริงๆ การเขียนมีหลายขั้นตอนด้วยกัน
“Prewriting, outline, draft, revises, edit, proofread”
สิ่งที่อยากให้รู้จาก Writing Process คือ จะเห็นได้ว่ามี Revise, Edit, Proofread ซึ่งเป็นการแก้ไขทั้งนั้น เพราะฉะนั้นอย่าไปหมดความมั่นใจเมื่อเราต้องเขียนและแก้หลายรอบ ทุกคนไม่ว่าจะเขียนมาเยอะแค่ไหนก็ต้องกระบวนการเขียนทุกครั้งที่เขียนอะไรใหม่ เมื่อเราเข้าใจดังนี้ก็จะเห็นว่าเป็นเรื่องปกติค่ะ
2. เข้าใจการทำงานของสมองเวลาเขียน Understand Your Writing Brain
ครูจะบอกเสมอว่าสมองเวลาเขียนนั้น ทำสองหน้าที่ด้วยกัน ขอเรียนว่า Creative Brain กับ Critical Brain
Creative Brain คือ สมองส่วนที่คิดสร้างสรรค์ เน้นคิดไอเดียเป็นหลัก
Critical Brain คือ สมองส่วนที่คอยติคอยแก้ ซึ่งจะเหมาะกับการ Edit งานเขียน
สมองสองส่วนนี้ทำงานพร้อมกันไม่ได้
ครูจะบอกเสมอว่าสมองเวลาเขียนนั้น ทำสองสำหรับคนที่ยังเขียนไม่เก่ง มักจะเขียนไปแก้ไป ทำให้ไอเดียไม่ออกมา เพราะ Critical Brain ทำงานอยู่ Creative Brain เลยทำงานไม่ได้ เพราะฉะนั้นวิธีแก้คือ ให้แยกสมองทำงานแต่ละขั้น เช่น การคิดไอเดียและการเขียนร่างแรก ให้ใช้ Creative Brain เป็นหลัก ยังไม่ต้องแก้ ให้เขียนเอาเนื้อหาออกมาก่อน ขั้นตอนนี้ยังไม่ต้องกลัวเขียนผิด จะเขียนแค่เป็นคำ เป็น Phrase หรือประโยคขาดๆ เกินๆ ผิดแกรมม่าก็ไม่เป็นไร
พอเขียนได้แล้ว ค่อยเอา Critical Brain มาใช้ในการแก้ไข พอถึงตอนนี้จะติงานเขียนตัวเองเท่าไหร่ก็ติไปเลย จะได้แก้ออกมาให้ได้ดี
วิธีเพิ่มความมั่นใจใน การเขียน
1. Finish something. เขียนให้เสร็จสักหนึ่งอย่าง
เมื่อก่อนครูไม่เคยมีความคิดว่าตัวเองเขียนนิยายได้เลย เพราะไม่เคยลองเขียน แต่ไหนแต่ไรมาก็เขียนแต่บทความ มีช่วงนึงลองเขียนแฟนฟิคชั่น ก็เขียนเล่นๆ ไม่ได้กะว่าจะเขียนให้จบด้วย แต่ก็ตัดสินใจว่าไหนๆ ก็เขียนแล้วเขียนให้จบแหละกัน พอเขียนจบแล้วก็มั่นใจมากขึ้นเลยนะว่าเราก็เขียนนิยายได้เหมือนกัน
ไม่ว่าจะทำอะไร ถ้าขอให้ทำได้สักครั้งหนึ่ง ความมั่นใจก็จะเพิ่มขึ้นค่ะ
2. Use timed writing exercises. ฝึกเขียนภายในเวลาที่กำหนด
เวลาเขียน เรามักจะติด เขียนไม่ออก เวลาที่เราคอยจับผิดและต่อว่าตัวเอง
วิธีหนึ่งที่ช่วยให้รู้สึกว่าเราสามารถเขียนได้จริง คือ การจับเวลาเขียน ง่ายๆ คือ ตั้งเวลาที่จะเขียนแล้วก็เขียนให้เสร็จในเวลา แล้วก็ถือว่าทำเสร็จแล้ว ไม่ต้องเขียนต่อ เป้าหมายของวิธีนี้คือ การเขียนภายในเวลาที่กำหนด ไม่ใช่ผลลัพธ์ว่าเขียนออกมาได้ดีหรือไม่
สิ่งที่ต้องคำนึงถึงเมื่อใช้วิธีนี้
- เขียนอย่างเดียว ไม่มีเหม่อลอยนั่งคิด
- โฟกัสที่การเขียน ไม่ใช่ผลลัพธ์
วิธีนี้เพิ่มความมั่นใจได้เพราะว่าการเขียนโดยไม่หยุดนั้น ทำให้เราตำหนิตัวเองน้อยลง (เพราะไม่มีเวลา) และการไม่โฟกัสที่ผลลัพธ์ก็ทำให้เราเขียนได้เลื่อนขึ้น สุดท้ายคือ เมื่อเราเขียนเสร็จ เราก็จะรู้สึกมั่นใจมากขึ้นว่า เราก็ทำได้นะ
แนะนำให้เริ่มจาก 5 นาทีก่อนนะคะ ยิ่งฝึกตอนแรกยิ่งต้องตั้งเป้าหมายสั้นๆก่อน เพื่อให้เราประสบความสำเร็จง่าย จะได้มีกำลังในการฝึกต่อ
3. Don’t Take Criticism Personally. อย่าเอาคำติจากคนอื่นมาบั่นทอนตัวเอง
ไม่ว่าการเขียนอะไรก็จำเป็นจะต้องได้ Feedback จากคนอื่น โดยเฉพาะการเขียนเชิงวิชาการ (Academic Writing) หรือ เขียนในการทำงาน พอเจอคำติหลายๆ ครั้งก็ทำให้หมดกำลังใจได้ แต่เราต้องเข้าใจว่าคำติเหล่านี้เป็นคำติ งานเขียน ของเรา ไม่ใช่คำต่อว่า ตัวเรา คือ เขาติงาน ไม่ได้ว่าเรา เราต้องแยกงานให้ออกจากตัวเรานั่นเอง
เรื่องนี้ครูเรียนรู้อยู่นานมากกว่าจะเข้าใจ ตอนเรียนปริญญาเอก ต้องโดนคำติงานเขียนจากอาจารย์เยอะ ตอนแรกๆ ก็รู้สึกแย่ คิดว่า ตัวเองโง่ ไม่เก่ง แต่พอเรียนไปหลายปี ถึงได้เข้าใจว่า เขาติงานเขียนของเรา ติเพื่อให้งานออกมาดี ติเพื่อให้เราไปแก้ เขาไม่ได้ตำหนิว่าเราเป็นคนไม่เก่ง พอเข้าใจแบบนี้ก็รู้สึกดีขึ้น มั่นใจในตัวเองมากขึ้นว่าเราเขียนได้นะ ถึงงานจะออกมาดีไม่ดีก็ต้องค่อยๆแก้กันไป แม้แต่อาจารย์เองก็ยังต้องขอ Feedback จากคนอื่น อาจารย์ก็ยังโดนติเหมือนกัน แต่มันเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเขียนค่ะ
วิธีที่ช่วยให้เราแยกคำติงานออกจากตัวเรา ก็คือ เวลาได้คำติมา ให้ลิสต์ออกมา อย่าเอาไว้ให้หัว พอเราเห็นคำติเป็นข้อๆออกมาบนกระดาษ เราก็จะเห็นว่าคำติชมแต่ละอย่างนั้นมันเกี่ยวกับงานเขียนโดยตรง ไม่ได้เป็นการว่าตัวเราค่ะ
ฝีกเขียนด้วยกันได้ที่ ชมรม English Writing Made Easy