ทุกคนรู้อยู่แล้วว่าภาษาพูดกับเขียนนั้นต่างกัน ซึ่งอันนี้ก็จริงในacademia(ทางวิชาการ)ด้วยเหมือนกัน
เวลาอยู่ในเลคเชอร์หรือสัมมนา เราอาจจะได้ยินอาจารย์ใช้คำที่ไม่เป็นทางการ เช่น stuffs, a bit, a bunch of เป็นต้น
แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าเราจะเอาคำพวกนี้มาใช้ในงานเขียนได้นะคะ เวลาเขียนเราต้องใช้คำที่เป็นทางการอยู่ดีค่ะ
คือไม่ว่าจะเป็นภาษาอังกฤษที่ใช้กันอยู่ทุกวัน หรือภาษาอังกฤษเชิงวิชาการก็มีแยกเป็น ภาษาพูดกับภาษาเขียน ดังนั้น ภาษาพูดทางวิชาการก็ยังมีความแตกต่างจากภาษาเขียนอยู่ดี
ภาษาพูดทางวิชาการ โดยเฉพาะในห้องเรียนหรือการประชุมกลุ่มย่อยนั้น จะต่างกับภาษาเขียนตรงที่
1. Loosely-structured (โครงสร้างหละหลวม) คือ เป็นภาษาพูดก็อาจจะวนไปวนมาบ้าง เป็นเรื่องปกติ ยกเว้นการพูดในวิชาการแบบเป็นทางการในการประชุมใหญ่ๆซึ่งคนพูดก็จะมีการเตรียมตัวมาดี ในกรณีนั้นก็จะมี structureที่ดีหน่อย
2. Assuming shared context and common background ภาษาพูดทุกแบบจะมีการ assume หรือทึกทักเอาว่าคนฟังมีbackgroundคล้ายๆคนพูด คือ ก็อยู่ที่เดียวกันคุยเรื่องเดียวกันก็จะมีการละเว้นคำ หรือประโยค โดยถือว่าคนฟังคงเข้าใจเพราะว่าคุยกันเอง แล้วก็ถ้าคนฟังไม่เข้าใจจริงๆก็สามารถถามได้ แต่เวลาเราเขียน เราต้องตระหนักไว้ว่าคนอ่านไม่รู้ว่าbackgroundหรือcontextเราเป็นแบบไหน และก็ไม่สามารถถามได้ทันทีถ้าอ่านแล้วไม่เข้าใจ ฉะนั้นคนเขียนต้องเขียนให้ละเอียดเพื่อให้คนอ่านเข้าใจชัดเจนค่ะ
3. No revision คือ เวลาพูดนั้น คนพูดก็ไม่สามารถrevise(แก้ไข)ได้ (พูดแล้วถอนคำไม่ได้นั่นแหละ) ฉะนั้นก็จะมีการใช้คำซ้ำๆ ใช้คำที่ informal และลักษณะต่างๆที่คล้ายกับภาษาพูดที่ใช้ในชีวิตปตะจำวัน
สรุปก็คือว่า เราไม่สามารถเอาคำที่ใช้พูดกันในห้องเรียนมาใช้ในงานเขียนได้เสมอไป ต้องใช้วิจารณญาณตัดสินใจด้วยตัวเองค่ะ