หาคำตอบมานานในที่สุดวันนี้ก็หาเจอ เคยสรุปด้วยประสบการณ์ตัวเองว่า เวลาเราจะตั้งเป้าหมายในการทำก็ตาม โดยเฉพาะการเรียนภาษา ก็ให้ตั้งเป้าหมายให้จนพูดได้คล่อง จนอ่านได้เก่ง แต่เวลาเราฝึกจริงๆ เราอย่าไปคิดถึงความก้าวหน้าของตัวเองมากนักเพราะมันจะทำให้เราหมดกำลังใจ ให้ฝึกไปเรื่อยๆ คือครูม่อนสรุปเอาจากประสบการณ์ตัวเอง แต่วันนี้อ่านเจองานวิจัยที่อธิบายแล้วว่าทำไมมันเป็นอย่างนี้ค่ะ
ก็เอาเป็นง่ายๆว่า คนเราจะมองเป้าหมายในสองลักษณะคือ1
- มองแบบ why คือ เรามองว่าเราทำไปเพื่ออะไร เช่น การทำสะอาดคือการทำให้บ้านสะอาด การเรียนภาษาอังกฤษคือการเพิ่มโอกาสทางการศึกษาและการงาน เป็นต้น
- มองแบบ what คือมองว่าทำอะไร เช่น การกวาดบ้าน คือ การทำสะอาดคือการกวาดบ้าน การเรียนภาษาอังกฤษคือการท่องศัพท์และการฝึกสนทนา เป็นต้น
ข้อดีของการมองเป้าหมายแบบwhyคือจะทำให้เราอยากทำ จะทำให้รู้ว่าเราทำสิ่งนั้นๆไปเพื่ออะไรนั่นเอง แต่ว่าถ้าถึงเวลาในการเรียนรู้อะไรที่ยากๆ หรือเวลาที่เรียนรู้อะไรใหม่แล้วล่ะก็ แนะนำว่าให้คิดถึงเป้าหมายในแบบwhatจะทำให้เราลงมือทำได้มากกว่า ผัดวันประกันพรุ่งน้อยลงค่ะ เพราะสิ่งที่เราต้องทำจะอยู่ในหัวของเราชัดเจน แล้วก็ตัวเป้าหมายที่เราอยากได้ไม่ได้เป็นตัวชี้วัดลอยอยู่ในอากาศให้เรารู้สึกตัวเองน้อยเนื้อต่ำใจอยู่บ่อยๆด้วย ทำให้เราโฟกัสกับการเรียนการฝึกภาษาในปัจจุบันได้ดีขึ้นค่ะ
ผู้อ่านมีประสบการณ์การเรียนภาษาอังกฤษอย่างไร เห็นด้วยไม่เห็นด้วยยังไง เล่าให้ฟังกันบ้างนะคะ
1Source: Succeed: How We Can Reach Our Goals (2010), Halvorson