จำยังไงให้เหมือนผู้เชี่ยวชาญ (2)
อีกตัวอย่างหนึ่งของความจำที่แตกต่างกันของคนเก่งกับคนเพิ่งเริ่ม ก็คือ เซียนหมากรุกคะ ถ้าถามว่าเซียนต่างกับคนเพิ่งเริ่มเล่นยังไง หลายๆคนก็อาจจะคิดว่า เซียนคงวางแผนไปไกลหลายตา กว่าคนที่เพิ่งเห็นเล่น แต่จริงๆแล้วมีคนศึกษาแล้วพบว่าเซียนก็ไม่ได้วางแผนไปไกลกว่ามือใหม่สักเท่าไหร่ แต่การจัดระบบความรู้ต่างกันคะ สำหรับคนที่เล่นเก่งแล้ว จะสามารถจำแบบ (pattern) ต่างๆของหมากรุกได้ แต่คนที่เพิ่งเริ่มเล็ก ยังมองpatternแบบนั้นไม่ออก เลยต้องมองเป็นตัวๆไป ทำให้การวางแผนไม่ซับซ้อนเท่าเซียนคะ ถ้าครูม่อนอยากเป็นเซียนหมากรุกมั่งคงต้องฝึกกันอีกนานคะ อย่าว่าแต่การจัดระบบความรู้เลย แค่ตัวความรู้เรื่องหมากรุกแทบจะเป็นศูนย์เลยคะ อ้างอิง Bruer, J. (1993).
จำยังไงให้เหมือนผู้เชี่ยวชาญ (1)
ตามหลักของ cognitive science แล้ว การเรียนรู้ก็คือการเปลี่ยนสถานะ จากผู้เริ่มต้น (novice) ให้กลายเป็นผู้เชี่ยวชาญ (expert) อย่างหนึ่งที่ผู้เชี่ยวชาญต่างกับผู้เริ่มต้นก็คือ มีความรู้เยอะกว่า ใช่ไหมคะ แต่มันไม่ใช่แค่นั้น สิ่งที่สำคัญคือ การจัดระบบความรู้ คะ ผู้เชี่ยวชาญจะมีการมองข้อมูลต่างกับผู้เริ่มต้น คนที่เก่งแล้วจะมีการจัดความรู้เป็นก้อนๆ (chunk) แทนที่จะจำเป็นหน่วยย่อยๆ ยกตัวอย่างเช่น ถ้าคนที่เพิ่งเรียนภาษาอังกฤษใหม่ แล้วได้ฟังบทความ แล้วต้องจำ ก็จะจำเป็นตัวอักษร
ศึกษาหาความรู้แบบไหนดีที่สุด?
วันนี้ได้เรียนความหมายของการเรียนรู้มากขึ้น ในภาษาอังกฤษจะมีการใช้คำว่า acquisition เช่น second language acquisition (การเรียนจนได้ภาษาที่สอง) knowledge acquisition (การเรียนจนได้ความรู้) ถ้าแปลภาษาไทยไม่ถูกต้องขออภัยจริงๆนะคะ เพราะไม่รู้ว่าจะใช้ภาษาไทยว่าอะไรจริงๆ เอาเป็นว่า acquisition เนี่ยจะให้ความหมายประมาณว่า ได้ “รับ”ความรู้มา มีคน”ส่ง”ความรู้มาให้ คือความหมายจะpassive คล้ายๆกับว่าการเรียนคือการรับความรู้มาจากครูอาจารย์ อะไรประมาณนั้นแหละคะ ส่วน อีกแบบคือ construction
เรียนแบบไหน -เรียนเก่ง หรือ เก่งขึ้น?
เรามองความฉลาดได้สองแบบ คือ เรามองว่าเป็นสิ่งที่fixed เปลี่ยนแปลงไม่ได้ หรือเป็นสิ่งที่ปรับปรุงแก้ไขได้ ซึ่งจะมีผลต่อการดำเนินชีวิตของเรามาก มันมีผลต่อการเรียนมากด้วยเหมือนกัน ลองเอามาปรับใช้ดูเฉพาะกับการเรียนภาษาซิคะ เราสามารถตั้งเป้าหมายในการเรียนได้สองแบบ เรียนให้เก่ง หมายถึง ทำคะแนนให้ดี ทำให้ครูชอบ ทำให้เป็นที่หนึ่งของห้อง ตอบคำถามให้ได้ ทำเกรดให้ได้ดีๆ พัฒนาทักษะทางภาษาของตัวเองให้เก่งขึ้นเรื่อยๆ หมายถึง ไม่ได้สนว่าคะแนนจะดีไม่ดีเท่าไหร่ แต่สำคัญว่าฉันได้เก่งขึ้นหรือเปล่า (รู้นะว่า ถ้าให้ทุกคนเลือกว่าแบบไหนดูดีกว่า ก็คงรู้ว่าจะเลือกแบบไหน แต่ถ้าให้ถามว่าจริงๆตัวเองจะทำแบบไหน ขอให้เลือกตามความแบบจริงนะคะ)
เคล็ดลับของการเรียนหนังสือ
มีใครอยากรู้เคล็ดลับในการเรียนหนังสือบ้าง? * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * เคล็ดลับของการเรียนหนังสือ ก็คือ เรียนหนังสือ
แรงจูงใจในการเีรียน
แรงจูงใจมีสองประเภทใหญ่ๆ คือ Extrinsic motivation คือ แรงจูงใจที่มาจากภายนอก เช่น ตั้งใจเรียนเพื่อให้ได้รับคำชม สอบให้ได้คะแนนดีเพื่อให้ได้เรียนต่อ เป็นต้น Intrinsic motivation คือ แรงจูงใจที่มาจากภายใน เช่น เรียนภาษาอังกฤษเพราะอยากเรียน ตั้งใจเรียนวิทยาศาสตร์เพราะสนใจอยากรู้ เป็นต้น ในการศึกษาแล้ว เราอยากจะให้ผู้เรียนเรียนด้วยintrinsic motivationเป็นหลัก เพราะผู้เรียนจะเรียนด้วยความกระตือรือล้น เรียนด้วยความตั้งใจ ซึ่งจะนำไปสู่ความสำเร็จในการเรียนได้ในที่สุด หน้าที่ของครูก็คือ