เก่งอังกฤษด้วยการตั้งเป้าหมายที่เราเชื่อว่าเราทำได้ (Set achievable goals)
การเรียนภาษาอังกฤษนั้นเป็น a long game คือ เป็นสิ่งที่เราทำระยะยาว หวังผลในภายหน้ามากกว่าปัจจุบัน จริงอยู่ที่เราก็เรียนเพื่อให้สอบผ่าน แต่ผลจริงๆมันยังไม่เห็นในระยะสั้น ไม่ใช่วันนี้พรุ่งนี้จะเก่งได้เลย แต่พอเก่งแล้วมันได้ผล(pay off)จริงๆค่ะ ในเมื่อมันเป็นอะไรระยะยาว เราต้องหาวิธีทำให้ตัวเองมีกำลังใจเรียนต่อเนื่อง ไม่ใช่ว่าฟิตเรียนอยู่เดือนนึงแล้วเลิก มันก็ไม่เก่งใช่ไหมคะ? วิธีนึงก็คือ ตั้งเป้าหมายที่เป็นไปได้ (เป้าหมายที่เราเชื่อว่าเราทำได้) หรือ achievable คีย์เวิร์ด คือ เชื่อ นะคะ
วิธีทำให้สมองอยากฝึกภาษาอังกฤษทุกวัน (โดยไม่ต้องบังคับตัวเอง)
จากวันก่อนที่โพสต์เรื่อง 4 วิธีง่ายๆสร้างนิสัยเรียนภาษาอังกฤษ (คลิกเพื่ออ่าน) วันนี้จะมาคุยกันต่อนะคะ และจะแจกhabit trackerด้วย วิธีนึงในการรักษาแรงจูงใจในการเรียนภาษา คือ ฉลองชัยชนะเล็กๆ (celebrate small wins) เพราะว่าตามวิวัฒนาการเนี่ย สมองคนเรามันพัฒนาไม่ทันสังคมเรา สมัยยุคคนป่าล่าสัตว์เนี่ย คนเราไม่ต้องคิดถึงอนาคตมาก ก็หากินของป่าล่าสัตว์สำหรับวันนี้อาทิตย์นี้ใช่ไหมคะ สมองเราเลยมักจะต้องการความพึงพอใจทันที (immediate gratification) คือ เวลาทำอะไรแล้วได้รางวัลได้ผลเลย เราจะชอบจะอยากทำอีก แต่ปัจจุบันเนี่ยสิ่งที่เราต้องทำส่วนมากมักจะส่งผลระยะยาว
4 วิธีง่ายๆสร้างนิสัยเรียนภาษาอังกฤษ
Motivation หรือ แรงจูงใจ เป็นสิ่งที่แปรปรวนบ่อยยิ่งกว่าอากาศอีก หลายๆคนจึงบอกว่าการขาดmotivationเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เลิกฝึกภาษาอังกฤษ ฉะนั้นเราจะให้motivationเป็นตัวหลักในการฝึกภาษาไม่ได้ ก็มันเชื่อถือไม่ได้อ่ะ เดี๋ยวไปเดี๋ยวมา ถ้ามัวแต่รอmotivationก็ไม่ได้เก่งอังกฤษสักที ตามหลักจิตวิทยาและสมอง เราจะทำยังไงให้เราฝึกต่อไปทั้งๆที่บางวันอยากจะเลิก? คำตอบคือ สร้างนิสัยเรียนภาษาอังกฤษค่ะ ครูม่อนขอเสนอเทคนิค 4 อย่างที่ครูม่อนใช้เองมาถึงทุกวันนี้ 1. Start small เริ่มจากเล็กๆก่อน เล็กคือเล็กจริงๆ เช่น เรียนศัพท์ใหม่วันละ 1 คำ
จำศัพท์ให้เป๊ะตามหลักการทำงานสมอง
ท่องศัพท์แล้วจำไม่ได้สักที เป็นเพราะเราไม่ได้เรียนvocab ตามหลักการทำงานของสมอง ใช้หลักตามนี้ จะทำให้เรียนศัพท์ได้เร็วขึ้น ง่ายขึ้น และนำไปใช้ได้จริงแน่นอนค่ะ
เรียนคำศัพท์จากประสบการณ์เรียนนอก-เข้าหอวันแรก (3)
แล้วจะรู้ได้ไงล่ะว่ากินกันไปแล้วกี่มื้อ ที่นี่สะดวกมาก ก็คือ แต่ละคนจะมี student ID card อยู่แล้ว ID ก็คือ identification ถ้าเป็นกริยาก็คือ identify แปลว่า ระบุว่าเป็นใคร ID card ก็คือบัตรที่ใช้ระบุว่าเราคือใครนั่นเอง ปกติถ้าเราเรียก ID card เฉยๆก็มักจะหมายถึงบัตรประชาชน แต่ถ้าเป็นของมหาวิทยาลัย มักจะใช้ student
ฝึกสมาธิด้วยการเขียน (ไม่ใช่พิมพ์)
ช่วงนี้พยายามเขียนอะไรด้วยมือให้บ่่อยขึ้น เป็นเวลานานเหมือนกันที่หันมาใช้วิธีพิมพ์แทนการเขียน รู้สึกจะเริ่มตั้งแต่ตอนเรียนที่ฮาร์วาร์ดได้้มั้ง เพราะรู้สึกว่ามีอะไรต้องใช้คอมพิวเตอร์เยอะ ขนาดจดโน้ตเวลาเรียน ตัวบทความที่เราอ่านมันก็อยู่ในคอมพิวเตอร์ เราแค่พิมพ์ไป ก็ง่ายกว่า ไม่ต้องปริ้นต์ออกมาด้วย ประหยัดกระดาษ พอทำมาสามสี่ปี แล้วลองมานึกดู เราไม่อยากจะเชื่อเหมือนกันว่าจะกลายเป็นคนที่เปลี่ยนจากการใช้กระดาษมาเป็นคอมพิวเตอร์ได้ เพราะเมื่อก่อนจำได้แม่นว่า เราคิดกับตัวเองว่า เราเป็นคนประเภทที่อ่านจากจอไม่ได้ ต้องอ่านจากหนังสือ หรือไม่ก็ปริ้นต์ออกมาให้จับต้องได้ แต่หลังๆนี้ ยิ่งตอนมาเริ่มเรียนปริญญาเอก รู้สึกว่าพิมพ์แล้วเร็วกว่าเยอะ และประหยัดกระดาษด้วย แม้แต่เขียนไดอารี่ยังพิมพ์เอาเลย แต่ทำๆไปนะ รู้สึกเหมือนกันว่าสมาธิสั้นลง