fbpx

4 ขั้นตอนการฝึก Vocab

Word learning

Share This Post

Share on email
Share on facebook
Share on twitter

“เคยท่องศัพท์แล้วก็ลืม เสียเวลาแล้วไม่ได้อะไร เลิกท่องดีกว่า”

อันนี้ได้ยินหลายคนบ่นมาก เมื่อคิดแบบนี้ก็ทำให้หมดกำลังใจ

ครูเองก็เคยรู้สึกแบบนี้ เป็นมากตอนที่ท่องศัพท์สอบ GRE  ท้ายๆเริ่มหมดกำลังใจ เลิกท่องไปเลย กะว่าก็ใช้ที่เราเคยอ่านๆมาแล้วไปเดาเอา

 

พอได้ไปเรียนปริญญาโทและเอกด้านการเรียนภาษา ถึงได้รู้ว่าการเรียนคำศัพท์นั้นไม่ใช่ all-or-nothing คือ ไม่ใช่มีแค่ “จำได้” กับ “ลืม”  

 

การเรียนคำศัพท์มีสี่ระดับด้วยกัน  ตามที่นักวิจัยการศึกษา Edgar Dale เสนอไว้

  1. ไม่รู้จักและไม่เคยเห็นคำนี้
  2. เคยเห็นหรือได้ยินคำนี้ แต่ไม่แน่ใจว่าหมายความว่าอะไร
  3. เห็นแล้วรู้จัก (recognize) และรู้ความหมาย ถ้าอ่านเจอจะเข้าใจ แต่ยังไม่ชัวร์ขนาดกล้าใช้พูดหรือเขียนเอง
  4. รู้จักคำนี้ดี และสามารถใช้ในการพูดและเขียนได้

เวลาที่เราเจอคำใหม่ครั้งแรก เราก็ยังอยู่ในระดับแรกอยู่  เปิดดิกหาความหมาย ถ้าขยันหน่อยก็จดความหมายกับตัวอย่างใช่ไหมคะ เราก็มักจะคิดว่าอย่างนี้คือท่องแล้วแหละ แต่อีกไม่กี่วัน เราก็ลืมไปซะแล้ว

พอมาอ่านเจออีกที “เฮ้ย คำนี้คุ้นๆอ่ะ” แต่ไม่แน่ใจว่าหมายความว่าอะไร แล้วเราก็มาโทษตัวเองว่าความจำเราไม่ได้ เราไม่เก่งอังกฤษ เลยเลิกเรียนเลิกฝึกไปเลย

แต่จริงๆแล้วเรากำลังก้าวหน้านะ อยู่ในระดับ 2 ไง

 

อันนี้เป็นปกตินะคะ  งานวิจัยด้านการเรียน vocabulary พบว่าต้องเจอคำศัพท์ประมาณ 12 ครั้งถึงจะพออ่านเข้าใจ และต้องเจอใน context ที่แตกต่างกันด้วย เช่น ใน dictionary ใน passage จากต่างเรื่องราว เป็นต้น  ว่าง่ายๆคือ multiple exposures และ multiple contexts 

เพราะฉะนั้นถึงแม้เราจะยังอยู่ในช่วง“เฮ้ย คำนี้คุ้นๆอ่ะ” แต่มันไม่ได้หมายความว่าเราไม่ได้ก้าวหน้านะคะ

Note: การแบ่งเป็นขั้นในที่นี้เพื่อให้เราเข้าใจ vocabulary develpment แต่จริงๆแล้วการพัฒนาคำศัพท์เป็นสิ่งที่ค่อยเป็นค่อยไป (incremental) นะคะ 

สรุปคือ เวลาที่เจอคำศัพท์แล้วจำไม่ได้หรือใช้ผิด เราอาจจะคิดว่าเราไม่ก้าวหน้า แต่จริงๆแล้วเป็นเรื่องปกติของ vocabulary development ค่ะ

 

ลองนึกถึงศัพท์หนึ่งคำที่เราเพิ่งเจอเร็วๆนี้แล้วรู้สึกว่า “ทำไมจำไม่ได้สักที” ลองคิดดูลึกๆว่าจริงๆแล้วเราอยู่ในขั้นตอนไหน 1-4  ครูเชื่อว่าเราจะเห็นว่า “จริงๆเราก็เก่งขึ้นนะ” 

 

More To Explore