การเรียนภาษาตามจิตสำนึกและจิตใต้สำนึก
ตาม Input Hypothesis ของ Krashen วิธีการเรียนรู้ภาษาที่สองของผู้ใหญ่ มีสองแบบด้วยกัน 1. Acquisition ซึ่งจะเป็นแบบตามจิตใต้สำนึก (subconscious) หมายถึง การเรียนรู้โดยที่เราไม่รู้ตัว 2. Conscious learning ซึ่งเป็นการเรียนแบบที่เรารู้ตัวว่าเรากำลังทำอะไรอยู่ ถึงแม้สมมติฐานนี้จะมีข้อด้อยหลายอย่าง เพราะการมองการเรียนภาษาที่สองตามจิตใต้สำนึกกับจิตสำนึก มันพิสูจน์ได้ยาก แต่ม่อนคิดว่าสมมติฐานนี้ก็ช่วยให้เรามองการเรียนของเราในมุมมองใหม่ วิธีการเรียนแบบรู้ตัว ทุกคนก็รู้จักกันดีอยู่แล้ว เวลาที่เราเรียนภาษาในห้องเรียน พยายามท่องหลักภาษา
เวลาเรียนภาษา ต้องเรียนแกรมมาไหม
ปกติเวลาที่เราเรียนภาษาใหม่ เรามักจะพยายามเลียนแบบการเรียนตามธรรมชาติของเด็ก มีนักการศึกษาหลายคนที่คิดว่า ในเมื่อเวลาเด็กเล็กๆเริ่มเรียนภาษา ก็ไม่เห็นจะต้องใช้คำอธิบายแกรมมาสักเท่าไหร่ ก็สามารถพูดได้ถูกต้อง ฉะนั้นถ้าเราเรียนภาษาต่างประเทศก็น่าจะไม่จำเป็นต้องอธิบายแกรมมาให้มากนักก็ได้ เน้นการทำซ้ำๆและการเลียนแบบก็พอ ซึ่งดูๆก็น่าจะสมเหตุสมผล แต่ลองมาคิดดูดีๆซิว่า ถ้าเราเอาวิธีการที่เด็กเรียนภาษาแม่ มาเปรียบเทียบกับวิธีที่เด็กหรือผู้ใหญ่เรียนภาษาที่สองตรงๆ มันจะเป็นการเปรียบเทียบที่สมเหตุสมผลหรือ? ตอนเป็นเด็กๆ จะยังไม่มีความสามารถในการคิดถึงอนาคตหรือสิ่งที่เป็นนามธรรม ความสามารถพวกนี้จะเริ่มพัฒนาช่วงวัยรุ่น จนถึงผู้ใหญ่ ซึ่งเมื่อเป็นอย่างนี้ เราก็เห็นได้ว่าความสามารถทางความคิดของเด็กและผู้ใหญ่นั้นไม่เหมือนกัน การที่เอาวิธีที่เด็กเรียนภาษามาเปรียบกับวิธีที่ผู้ใหญ่เรียนตรงๆนั้นก็คงไม่ได้ นักภาษาศาสตร์ เช่น Ausubel เห็นว่า ผู้ใหญ่สามารถได้ประโยชน์จากการอธิบายแกรมมาในการเรียนภาษาต่างประเทศได้
อยากฝึกเขียนภาษาอังกฤษ เริ่มจากไหนดี?
ถ้าไม่รู้จะเริ่มจากตรงไหน เริ่มจากสองอย่างนี้ก่อนเลยค่ะ 1.ทบทวน (หรือเรียน) แกรมมาให้แม่นๆ แล้วแต่ระดับภาษาของแต่ละคนนะคะ แนะนำว่าให้หาหนังสือแกรมมามาอ่านและทำแบบฝึกหัดดู ถ้าทำได้ก็อ่านผ่านๆเป็นการทบทวน ถ้าไม่ได้ ก็ต้องเอาให้แม่นค่ะ ไม่อย่างนั้นจะไม่สามารถเขียนให้ถูกต้องได้เลย แกรมมาถือเป็นหัวใจของการเขียนให้ถูกต้องเลยค่ะ หนังสือแนะนำที่ม่อนเคยใช้ก็คือ หนังสือ Understanding and Using English Grammar ของ Betty Schrampfer Azar ค่ะ 2.หัดอ่านหนังสือภาษาอังกฤษให้เป็นนิสัย
เรียนภาษาแบบ “นักท่องจำ” หรือแบบ “นักคิด” ดี?
วันนี้discussกับเพื่อนๆ เรื่องวิธีการเรียนการสอนภาษาต่างประเทศ ตามBrown(1993) เราสามารถแบ่งการเรียนการสอนภาษาต่างประเทศได้สองแบบใหญ่ๆ คือ แบบbehavioristic และ แบบ cognitive โดยแบบbehavioristic คือ เน้นแบบการใช้ภาษาจนชิน ซึ่งเป็นแบบที่เราเรียนกันเป็นส่วนมาก ม่อนจะขอเรียกแบบนี้ว่าแบบ “นักท่องจำ” แล้วกันนะคะ ส่วนแบบcognitive คือ เรียนแบบเข้าใจว่าทำไมต้องเป็นอย่างนี้ ตัวอย่างง่ายๆ ก็เช่น เราคิดว่าทำไมประโยคนี้ถึงต้องใช้tenseนี้ มันทำให้ความหมายเปลี่ยนอย่างไร แทนที่จะท่องเป็นกฏๆไป เป็นต้น
ฝึกภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวันโดยการเขียนไดอารีเป็นภาษาอังกฤษ
วิธีหนึ่งที่จะทำให้เราพัฒนาภาษาอังกฤษได้เร็วมาก ก็คือ การเขียนไดอารีเป็นภาษาอังกฤษ อย่าค่ะ! อย่าเพิ่งคิดว่า ยากอ่ะ! จะไปเขียนได้ยังไง พูดยังไม่ได้ อ่านก็ไม่รู้เรื่องจะให้เขียนไดอารีเป็นภาษาอังกฤษได้ยังไง มันไม่จริงหรอกค่ะ คิดดูซิว่าพวกเราเรียนภาษาอังกฤษกันมาตั้งกี่ปีแล้ว ตั้งแต่ประถม มัธยม มหาวิทยาลัย รวมๆเข้าไปเกินสิบปีแน่นอน แค่ประโยคง่ายๆในชีวิตประจำวัน เขียนได้แน่นอนค่ะ วิธีก็คือ ให้เขียนเหมือนเราพูดกับตัวเอง ถ้าตรงไหนยากเกินไป นึกภาษาอังกฤษไม่ออก ก็เขียนไทยคำอังกฤษคำ หรือไทยประโยคนึง อังกฤษประโยคนึงเนี่ยแหละค่ะ เขียนไปเรื่อยๆ
แนะนำหนังสือเตรียมสอบ TOEFL
ถ้าใครที่กำลังจะสอบTOEFL แล้วต้องการเตรียมตัวดีๆล่ะก็ ขอแนะนำเล่มนี้ก่อนเลยค่ะ อย่าเพิ่งไปอ่านเล่มอื่น The Official Guide to the TOEFL iBT By Educational Testing Service (ETS) ทำไมต้องอ่านเล่มนี้? เพราะว่าเล่มนี้เป็นหนังสือที่คนออกข้อสอบ ซึ่งก็คือ ETS เป็นคนทำเอง ฉะนั้นเขาก็จะรู้ดีที่สุดว่า หลักเกณฑ์ในการให้คะแนนของเขาเป็นอย่างไร โดยจะแบ่งเป็นส่วน reading,