เรียนแกรมม่าตามหลักการทำงานของสมอง
หลายๆคนอาจจะสงสัยว่า การเรียนแกรมม่าจำเป็นแค่ไหน สมัยตอนเรียนหนังสือตอนประถมและมัธยม จะเรียนแกรมม่าซะเป็นส่วนมาก มีบทสนทนาบ้างสอดแทรกอยู่ แต่ก็เหมือนว่าแกรมม่าจะเป็นหลักในการเรียนมากกว่า ซึ่งตอนนั้นเองครูม่อนก็ไม่รู้หรอกค่ะว่า ภาษาอังกฤษควรจะเรียนอย่างไร ที่โรงเรียนให้เรียนอะไรก็เรียนไปอย่างนั้น ไม่ได้คิดอะไรมาก แต่พอมาถึงปัจจุบันนี้ที่สามารถเรียนภาษาอังกฤษมาได้ดีถึงระดับหนึ่งแล้ว และในฐานะที่เป็นครูคนหนึ่งก็พยายามจะมองมาย้อนมามองว่าการเรียนภาษาอังกฤษที่ดีสำหรับคนไทยนั้น ควรจะเรียนอย่างไรกันแน่ ในปัจจุบันนี้ มีคนจำนวนมากที่วิจารณ์ว่าการเรียนภาษาอังกฤษบ้านเรานั้นไม่ควรเน้นแต่แกรมม่า ควรจะเน้นเรื่องการนำไปใช้ประโยชน์มากกว่า แต่ถ้าใครที่เรียนภาษาอังกฤษจริงๆจะรู้ว่าการเรียนแกรมม่าสำคัญมากเพราะเป็นพื้นฐานในการเข้าใจภาษา โดยเฉพาะถ้าอยากจะเก่ง writing นั้นแกรมมาจำเป็นมาก แต่หลายๆคนก็อาจจะแย้งว่า ถ้าเรียนแต่แกรมม่าอาจจะทำให้นักเรียนเบื่อ พาลไม่ชอบภาษาอังกฤษไปเลยก็ได้ ซึ่งอันนั้นก็เป็นไปได้ค่ะ เพราะในโรงเรียนมักจะสอนแกรมม่าเป็นจุดๆ ค่อยๆเรียนไป
Mindset towards certain words
มีปรากฏการณ์อย่างหนึ่งที่ม่อนได้สัมผัสกับตัวเองอย่างชัดเจน หลังจากท่องศัพท์ GRE คือ ปรากฏการณ์ที่ Norman Lewis ผู้แต่งหนังสือ Word Power Made Easy ได้กล่าวว่าเป็น “mindset towards certain words” มันเป็นอย่างไร ม่อนจะเล่าให้ฟังค่ะ ม่อนเป็นคนที่ไม่ค่อยชอบท่องศัพท์เอาเสียเลยจริงๆ นอกจากจะมีใครบังคับ เช่น ต้องสอบ ก็จะท่อง ดังนั้นตั้งแต่เลิกเรียนภาษาอังกฤษที่จุฬาตอนปีสอง
เรียนภาษาอังกฤษจากการ์ตูน
ขอแนะนำการ์ตูนดิสนีย์ค่ะ จากประสบการณ์ที่เจอเพื่อนๆที่เก่งภาษาอังกฤษมาพบว่า ส่วนมาก เกือบ 80 เปอร์เซ็นต์ ตอนเด็กๆดูหนังการ์ตูนดิสนีย์กันทั้งนั้นค่ะ จากการวิเคราะห์ม่อนคิดว่า เป็นเพราะดิสนีย์เป็นการ์ตูนที่ดึงดูดความสนใจเด็กได้อยู่แล้ว เพราะตัวเนื้อเรื่องและภาพ และดีสนีย์ก็เป็นการ์ตูนของอเมริกัน ทำให้เด็กที่ดูได้ภาษาอังกฤษไปโดยปริยาย และเพลงก็ยังเพราะอีกด้วย ม่อนจำได้แม่นเลยว่า ตอนเด็กๆก็ดูภาษาอังกฤษ ซับไทย แต่ฟังเพลงแล้วชอบ เลยไปหาเนื้อเพลงมาหัดร้องตาม จนได้คำศัพท์ในเพลง พอหลายๆครั้งเข้า ก็ทำให้ฟังรู้เรื่อง จริงๆนะคะ ม่อนคิดว่าถ้าที่บ้านไม่ได้ให้ดูการ์ตูนดิสนีย์ทุกวันนี้อาจจะไม่เก่งภาษาอังกฤษก็ได้ ฉะนั้นถ้าใครมีเด็กๆที่บ้านก็อย่าลืมเปิดดิสนีย์ให้ดู แต่ต้องเป็นภาษาอังกฤษด้วยนะคะ
คนเราชอบส่งต่อเรื่องแบบไหนให้คนอื่นอ่าน?
บทความนี้น่าสนใจมากค่ะ มาจาก New York Times เป็นงานวิจัยจากUniversity of Pennsylvania ว่าคนเราชอบส่งเรื่องแบบไหนให้เพื่อนๆอ่าน ที่อ่านแล้วรู้สึกดีก็คือ เขาพบว่าคนเราจะส่งต่อเรื่องที่เป็นบวกมากกว่าเรื่องที่เป็นลบ และเรื่องที่ถูกส่งต่อส่วนมากก็จะเป็นเรื่องที่ทั้งน่าประหลาดใจและinspiring
อ่านหนังสือยังไงให้ verbal GRE ขึ้นจาก 490 เป็น 690
สอบ GRE เมื่อสองปีทีี่แล้ว ได้verbal 490 วันนี้เพิ่งไปสอบมาได้ 690 จะเตรียมตัวยังไงให้ได้ verbal เยอะๆ จริงๆ 690 ก็ไม่ได้เยอะไฮโซ แต่ก็ถือว่าพอใช้ได้นะคะ ตอนก่อนเตรียมตัวแรกๆ ม่อนคิดเอาเองว่า ไปเรียนปริญญาโทที่ฮาร์วาร์ดมาแล้ว เราน่าจะเก่ง verbal ขึ้นบ้างแล้วนะ แต่ปรากฏว่าพอไปลองทำข้อสอบดูก็ไม่เห็นจะทำได้มากกว่า 490 สักเท่าไหร่ ศัพท์ก็ไม่ได้รู้มากขึ้นขนาดนั้น ก็เซ็งเหมือนกันนะ
เรากำลังเรียนภาษาอังกฤษกันอย่างถูกวิธีหรือเปล่า?
ตอนม่อนเป็นนักเรียน เมืองไทยเรียนภาษาอังกฤษแบบไทยๆ คือ เรียนแกรมมา ม่อนไม่เคยได้เรียนกับฝรั่งเลยตั้งแต่ประุถมยันมัธยม แต่ตอนนี้ในวงการการศึกษาบ้านเรา ในโรงเรียนมักจะใช้ฝรั่งสอนภาษาอังกฤษ ซึ่งม่อนก็คิดว่าดีนะ แต่ตอนนี้พอได้เรียนรู้ได้เห็นอะไรมากขึ้น ชักจะสงสัยแล้วว่าม้ันเป็นวิธีที่ดีที่สุดแล้วหรือเปล่า ตอนเรียนเรื่องสมองกับการศึกษาที่ฮาร์วาร์ด ม่อนได้อ่านหนังสือและบทความทางวิืทยาศาสตร์เยอะ รู้ว่าการเรียนภาษามี sensitive period ของสมอง คือมีช่วงที่สมองจะเรียนรู้ภาษาได้ดี เช่น เรื่องสำเนียง ถ้าได้สัมผัสกับภาษานั้นๆ(แบบสำเนียงnative speaker)ก่อนอายุสิบสองปี สมองก็มักจะิเรียนรู้สำเนียงนั้นได้ง่าย เราถึงเห็นว่าเด็กที่ย้ายไปอยู่ประเทศอื่นตั้งแต่เด็กๆก็มักจะพูดภาษานั้นๆได้โดยไ่ม่ติดสำเนียง ส่วนเรื่องการแยกเสียงนั้น ตอนแรกเกิด