ในการเขียนเชิงวิชาการ (academic writing) เราใช้การย่อ (abbreviation) อย่างไร?
ในการเขียนเชิงวิชาการ (academic writing) เราใช้การย่อ (abbreviation) อย่างไร? Abbreviation คือ การย่อให้คำหรือวลี(phrase)สั้นลง ยกตัวอย่างเช่น Professor –> Prof., Doctor —> Dr. การย่อนั้นยังมีอีกสองแบบย่อยด้วยกัน Contraction หรือ การย่อ do—> don’t, cannot—>can’t, will not—>won’t
ภาษาวิชาการ Academic Text Writing: Formal VS Informal
อาทิตย์นี้ครูม่อนจะคุยเรื่อง academic writing style (เขียนเชิงวิชาการ) นะคะ ซึ่งอันนี้มันใช้ในการสอบต่างๆเช่น โทเฟล (TOEF) หรือ GRE ด้วย คือ ในการสอบวัดระดับภาษาสำหรับการเรียนต่อต่างๆ เรื่องหนึ่งก็คือ formal language คือ academic writing จะเป็นทางการกว่าภาษาพูด ซึ่งหลักการนี้ก็น่าจะรู้ๆกันอยู่แล้ว แต่อุปสรรคคือบางทีเราไม่รู้ว่าภาษาที่เราใช้อันไหนมันไม่เป็นทางการ ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องผิดปกตินะคะ เพราะว่าเราไม่ได้ใช้ภาษาวิชาการทุกวัน
อธิบายขนาดของผลลัพธ์ adj.+ effect
เวลาเขียนรายงานเรามักจะต้องสรุปผลว่าการทดลองนั้นมีผลมากน้อยแค่ไหน มาดูกันว่าเราใช้ adjective อะไรได้บ้าง n. effect ผลลัพธ์ significant considerable substantial notable sizable คำเหล่านี้พอเอามาขยายeffect หมายถึงว่ามีผลเยอะพอสมควร เราจะทำเป็นประโยคก็ได้ The effect is significant/considerable/substantial/notable/sizable. ที่เราต้องใช้คำพวกนี้เพราะว่าบางทีตัวเหตุมันส่งให้มีผลก็จริง แต่ผลอาจจะน้อยมากๆจนไม่มีความหมาย เราถึงต้องอธิบายให้ชัดว่าผลที่เราพูดถึงนี้มันเยอะพอสมควรนะ Significant จะเจอบ่อยมาก เวลาเขียนต้องระวังตรงที่บางสาขาวิชาจะใช้คำนี้เมื่อผลสถิติออกมา
เรียน writing online ฟรี ! คอร์สเตรียม Academic writing
เรียน Academic Writing Online ฟรี มินิคอร์สอันนี้ตั้งใจให้คนที่อยากไปเรียนต่อปริญญาโทปริญญาเอกที่ต่างประเทศ หรือโปรแกรมอินเตอร์ในประเทศไทย จะไปเรียนต่อทั้งทีอย่าให้ภาษามาเป็นอุปสรรคเลยดีกว่าค่ะ คนที่ตั้งใจจะเรียนต่อดีกรีที่เป็นภาษาอังกฤษคงรู้อยู่แล้วว่าจะมีงานเขียนเยอะมาก ถ้าจะเรียนให้จบให้ได้เกรดดีๆ ต้องเขียนให้ดี แต่ว่าเรียนแค่ภาษาอย่างเดียวมันไม่พอ แค่สอบโทเฟล IELTS ผ่านมันไม่พอ ต้องรู้ให้มากกว่านั้น มินิคอร์สนี้จะให้ความรู้จากวงในจากคนที่ผ่านมาแล้ว เป็นความรู้ที่สำคัญแต่ไม่ค่อยมีใครสอน พอไปเรียนถึงได้รู้ว่ามันสำคัญมาก ผู้เรียนคอร์สนี้จะได้ความรู้ที่สำคัญเกี่ยวกับการเรียนต่อต่างประเทศ เรื่องภาษาอะไรที่เราต้องเตรียมตัว จะเรียนแข่งกับเจ้าของภาษาได้ยังไง และเคล็ดลับอื่นๆที่จะช่วยให้เรียนจบได้โดยไม่ต้องไปลองผิดลองถูกเอง ถ้าสนใจ คลิกแล้วเรียนได้เลยค่ะ
ก้าวข้ามPlateau
หลายๆคนคงเคยรู้สึกว่าเรียนภาษาอังกฤษมาก็นานแล้วทำไมยังไม่เก่งสักที ครูม่อนคิดว่า ทุกๆคนเคยมีความรู้สึกแบบนี้ ไม่ว่าตอนนี้จะเก่งหรือไม่เก่งยังไงก็ต้องมีท้อกันทุกคน วันนี้อยากจะเขียนเกี่ยวกับ Learning trajectory ซึ่งก็คือเส้นทางความก้าวหน้า(หรือถอยหลัง)ของการเรียน ในที่นี้เราก็จะหมายถึงเฉพาะการเรียนภาษาอังกฤษ การเรียนรู้ทุกๆอย่าง มีtrajectory ของมัน จะก้าวหน้า อยู่กับที่ หรือถอยหลังก็แล้วแต่เรา วันนี้จะเน้นถึงเวลาที่เราท้อและรู้สึกว่าtrajectory ของเรามันอยู่กับที่ ไม่ยอมขยับไปไหนสักที ครูม่อนอยากขอเล่าประสบการณ์ของตัวเอง คือ ตอนมอต้นเรียนภาษาอังกฤษไม่เก่งเลย พอมามอปลายเลยตั้งใจเรียนมาก ขยันมากที่สุดในชีวิตเลยก็ว่าได้ (คงคล้ายๆกับหลายๆคนที่ช่วงสอบเข้ามหาวิทยาลัยเป็นช่วงที่ขยันที่สุด) ตอนนั้นรู้สึกว่าภาษาเราพอได้ล่ะ
วิธีหาไอเดียเขียนessayส่งอาจารย์
หลายๆคนที่เคยต้องเขียน essayส่งอาจารย์ คงจะรู้ว่ามันยากแค่ไหนนะคะ โดยเฉพาะถ้าเราต้องหาข้อมูลด้วยเขียนด้วย ตอนครูม่อนเรียนปอโทปอเอกที่อเมริกา ครูม่อนต้องเขียนessayเยอะมากๆ ทำให้รู้ว่าwriting processนั้นเป็นยังไง ซึ่งเป็นสิ่งที่ครูม่อนไม่เคยได้เรียนที่เมืองไทยเลย (เพราะว่าครูม่อนเรียนโปรแกรมไทยตลอด ไม่เคยเรียนอินเตอร์เลย) วันนี้เลยอยากจะมาแบ่งประสบการณ์ที่ต้องเขียนessayที่อเมริกาให้ได้อ่านกัน จะได้ไม่ต้องลำบากแบบครูม่อนนะคะ สิ่งที่สำคัญมากๆในการเขียนคือ prewriting แปลตรงตัวก็คือ การเตรียมตัวก่อนการเขียนนั่นเอง ทำไมเราต้องเตรียมตัวก่อนเขียน? เพราะว่าการเตรียมตัวก่อนเขียนช่วยให้เราได้ไอเดียที่เราจะเขียน ทำให้ไอเดียชัดเจนขึ้น และให้โอกาสเราได้organizeไอเดีย ปกติแล้วเรามักจะเขียนเลย พอได้หัวข้อปุ๊บก็เขียนเลย ไม่ก็หาข้อมูลนิดหน่อยแล้วก็ลงมือเขียน ถ้าเราเขียนเลย