
ฝึกเขียนให้คล่อง ลองทำวิธีนี้
Author: ดร.ณัฏฐ์ภัทร์ ชาญเชาวน์กุล (ครูม่อน) Cover art: อธิกฤต ชาญเชาวน์กุล (โดม) Date: 16 ตุลาคม 2562 ฝึกเขียนให้คล่อง ลองทำวิธีนี้ อย่าลืมว่าสิ่งสำคัญคือให้ทำสม่ำเสมอให้เป็นนิสัย เขียนวันละนิดแต่เขียนทุกวัน ดีกว่าเขียนยาวแต่นานๆทีค่ะ เรียนภาษาต้องสม่ำเสมอ ครูเคยเขียนเรื่องสร้างนิสัยไว้แล้วนะคะ อ่านเพิ่มเติมได้ 4 วิธีง่ายๆสร้างนิสัยเรียนภาษาอังกฤษ https://kru-mon.com/2019/04/habits/

ฝึกเขียนแล้วไม่เก่งเพราะว่าเราฝึกไม่ถูกวิธี
การเขียนนั้นมันไม่ใช่แค่ว่าเราเก่งหรือไม่เก่งภาษา มันมีมากกว่านั้น มันมีเรื่องความคิดด้วย ถ้าเราไม่มีอะไรจะเขียน มันก็เขียนไม่ออก ฉะนั้นก่อนที่เราจะฝึกตัวเองให้เก่ง writing ครูอยากให้เข้าใจว่า writing มีสองด้าน 1. ภาษา 2. เนื้อหา ตั้งเป้าหมายก่อนว่าเราจะฝึกด้านไหน (แนะนำให้เลือกอย่างใดอย่างหนึ่งก่อน จริงอยู่เราต้องเก่งสองอย่าง แต่เราจะมีกำลังใจมากกว่า และ focus มากกว่าเมื่อเราเลือกฝึกด้านเดียวก่อน) วันนี้มาดูเฉพาะเรื่องภาษากันก่อนนะคะ แค่เรื่องภาษาก็มีหลายด้านนะ แต่วันนี้ขอเขียนแค่สองเรื่องก่อน 1.

Law of diminishing returns in writing
Author: ดร.ณัฏฐ์ภัทร์ ชาญเชาวน์กุล (ครูม่อน) Editor: อธิกฤต ชาญเชาวน์กุล (โดม) Date: 26 กันยายน 2562 จากคราวที่แล้วที่โพสต์ไปว่า pitfall อันนึงที่เรามักจะเจอบ่อยคือ การแก้งานเขียนเยอะเกินไปคือคิดว่าต้องเพอร์เฟคก็เลยแก้แล้วแก้อีกซึ่งนอกจากจะทำให้เครียดแล้ว ยังทำให้ miss deadline ส่งงานไม่ทันอีกด้วย ปรากฏการณ์นี้คือ law of diminishing returns

Done is better than perfect
สิ่งหนึ่งที่ครูเรียนรู้ก็คือ Done is better than perfect ซึ่งแปลว่า ทำอะไรให้เสร็จดีกว่ารอให้perfectแต่สุดท้ายก็ไม่ได้ทำ ซึ่งจริงๆก็ใช้ได้กับทุกเรื่องในชีวิตนะคะ แต่วันนี้ขอยกตัวอย่างเรื่องwriting ล่ะกัน ตอนเรียนปริญญาเอกเนี่ยมีงานเขียนเยอะมาก ปกติครูก็เป็นคนประเภทว่าเวลาทำอะไรก็อยากทำให้ดีเนาะ คือ ถ้าเราคิดว่าไม่ยังไม่ดีก็ไม่กล้าส่ง แต่ว่าพองานมันเยอะๆเข้าก็มัวแต่รอแก้มันก็ไม่ทัน ก็เครียดนะ รู้สึกว่าทำไม่ได้ ทำไม่ทัน รู้สึกว่าเราคงจะเรียนไม่ได้แน่ๆ แต่ก็ได้เรียนรู้จากอาจารย์จากเพื่อนๆด้วยกันว่า งานเขียนเนี่ยมันแก้ได้ตลอดแหละ ไม่ว่าจะแก้มาแล้วกี่สิบรอบ พอเอาไปให้อาจารย์อ่าน เขาก็ยังมีcommentมาอีกจนได้

Paragraph Structure โครงสร้างย่อหน้า
ย่อหน้า (paragraph) ที่ดีต้อง มีใจความหลัก 1 เรื่องเท่านั้น สั้นกระชับ (concise) ไม่ออกนอกเรื่อง ทุกปยต้องเกี่ยวข้องกับใจความหลัก สูตรโครงสร้างย่อหน้าที่ดี (คำเชื่อม)+ใจความหลัก 1 เรื่อง+รายละเอียดของใจความหลัก หมายเหตุ : คำเชื่อมจะมีหรือไม่มีก็ได้แล้วความเหมาะสม จากประสบการณ์ที่เป็นนักเรียนเองและที่สอนนักเรียนต่างชาติ ครูม่อนพบว่า ปัญหาที่เจอมากที่สุดคือเขียนหนึ่งย่อหน้าแล้วมีใจความหลักมากกว่าหนึ่งเรื่อง แบบนี้จะทำให้คนอ่านงงได้ ทำให้เขาตามไอเดียของเราไม่ได้ชัดเจน คำแนะนำอันหนึ่งของครูม่อนคือ

ใช้ indirect questions
ปกติเวลาเขียนบางที เราจะใช้ประโยคคำถามมาเขียนเพื่อให้คนอ่านคิดตาม แต่เวลาเขียนเชิงวิชาการ เราจะไม่ค่อยได้ใช้ประโยคคำถามเท่าไหร่ มักจะเปลี่ยนให้เป็น indirect question มากกว่า Why has antibiotic resistance increased? Many researchers have investigated this issue. ทำไมถึงการดื้อยาของยาปฏิชีวินะถึงเพิ่มสูงขึ้น? นักวิจัยหลายคนได้ศึกษาเรื่องนี้ ซึ่งจะอ่านดูแล้วไม่ค่อยเป็นทางการเท่าไหร่ เหมือนภาษาพูดมากกว่า เราก็จะเปลี่ยนเป็น indirect