Done is better than perfect
สิ่งหนึ่งที่ครูเรียนรู้ก็คือ Done is better than perfect ซึ่งแปลว่า ทำอะไรให้เสร็จดีกว่ารอให้perfectแต่สุดท้ายก็ไม่ได้ทำ ซึ่งจริงๆก็ใช้ได้กับทุกเรื่องในชีวิตนะคะ แต่วันนี้ขอยกตัวอย่างเรื่องwriting ล่ะกัน ตอนเรียนปริญญาเอกเนี่ยมีงานเขียนเยอะมาก ปกติครูก็เป็นคนประเภทว่าเวลาทำอะไรก็อยากทำให้ดีเนาะ คือ ถ้าเราคิดว่าไม่ยังไม่ดีก็ไม่กล้าส่ง แต่ว่าพองานมันเยอะๆเข้าก็มัวแต่รอแก้มันก็ไม่ทัน ก็เครียดนะ รู้สึกว่าทำไม่ได้ ทำไม่ทัน รู้สึกว่าเราคงจะเรียนไม่ได้แน่ๆ แต่ก็ได้เรียนรู้จากอาจารย์จากเพื่อนๆด้วยกันว่า งานเขียนเนี่ยมันแก้ได้ตลอดแหละ ไม่ว่าจะแก้มาแล้วกี่สิบรอบ พอเอาไปให้อาจารย์อ่าน เขาก็ยังมีcommentมาอีกจนได้
Paragraph Structure คืออะไร ? โครงสร้างย่อหน้าที่ดีต้องเป็นอย่างไร
ย่อหน้า (paragraph) ที่ดีต้อง มีใจความหลัก 1 เรื่องเท่านั้น สั้นกระชับ (concise) ไม่ออกนอกเรื่อง ทุกปยต้องเกี่ยวข้องกับใจความหลัก สูตรโครงสร้างย่อหน้าที่ดี Paragraph Structure (คำเชื่อม)+ใจความหลัก 1 เรื่อง+รายละเอียดของใจความหลัก หมายเหตุ : คำเชื่อมจะมีหรือไม่มีก็ได้แล้วความเหมาะสม จากประสบการณ์ที่เป็นนักเรียนเองและที่สอนนักเรียนต่างชาติ ครูม่อนพบว่า ปัญหาที่เจอมากที่สุดคือเขียนหนึ่งย่อหน้าแล้วมีใจความหลักมากกว่าหนึ่งเรื่อง แบบนี้จะทำให้คนอ่านงงได้ ทำให้เขาตามไอเดียของเราไม่ได้ชัดเจน คำแนะนำอันหนึ่งของครูม่อนคือ
ใช้ indirect questions
ปกติเวลาเขียนบางที เราจะใช้ประโยคคำถามมาเขียนเพื่อให้คนอ่านคิดตาม แต่เวลาเขียนเชิงวิชาการ เราจะไม่ค่อยได้ใช้ประโยคคำถามเท่าไหร่ มักจะเปลี่ยนให้เป็น indirect question มากกว่า Why has antibiotic resistance increased? Many researchers have investigated this issue. ทำไมถึงการดื้อยาของยาปฏิชีวินะถึงเพิ่มสูงขึ้น? นักวิจัยหลายคนได้ศึกษาเรื่องนี้ ซึ่งจะอ่านดูแล้วไม่ค่อยเป็นทางการเท่าไหร่ เหมือนภาษาพูดมากกว่า เราก็จะเปลี่ยนเป็น indirect
Verb Tense Consistency เลือกใช้ tenseใน academic writingให้ถูกต้อง
ปกติเวลาเราเริ่มเรียนภาษาอังกฤษใหม่ๆ เราก็จะฝึกการใช้tenseตามเวลา ว่า อดืต ปัจจุบัน หรืออนาคต สำหรับacademic writing ก็จะคล้ายๆกัน ตามนี้ค่ะ Present Tense ใช้สำหรับ • Introducing a topic with a general statement การเริ่มแนะนำtopicด้วยประโยคกว้างๆ • Making statements
เลือกใช้คำที่ specific
Academic writing หรือ เขียนเชิงวิชาการต้องใช้คำที่specificเฉพาะเจาะจง เพื่อให้คนอ่านไม่งง เพราะว่างานเขียนวิชาการจะซับซ้อนเข้าใจยากกว่าการพูดเขียนในชีวิตประจำวัน ถ้าเราไม่ใช้คำที่specificพอ คนอ่านจะงงได้ง่ายมาก ข้อแนะนำการเลือกใช้คำที่specific เลี่ยงใช้คำคลุมเครือ เช่น thing หรือ get ใช้thesaurusช่วยในการหาคำที่specifcกว่ามาใช้แทน แต่ต้องระวังว่าเวลาเลือกคำมาแทนต้องเช็คกับdictionaryอีกทีว่าความหมายของคำที่เราจะเอามาใช้แทนนั้นตรงกับความหมายที่เราจะสื่อหรือเปล่า ตัวอย่าง พอเราเปิดthesaurusก็จะเห็นว่าเราสามารถเลือกใช้คำทางด้านขวามือมาแทนคำทางซ้ายมือได้ Give –> donate, provide, offer Thing –>
Articles (a, an, the) ใช้ยังไงใน academic writing ?
การใช้ articles (a, an, the) เนี่ยเป็นอะไรที่ยากสำหรับคนไทยมากๆ คนเรียนอยู่เมืองนอกหลายปีแล้วยังใช้ไม่ถูกตลอดเวลา ครูม่อนเองก็ยังต้องกลับมาเช็คก่อนส่งงานเขียนเพราะเป็นอะไรที่จะหลุดmistakesไปได้ง่ายมากๆ จะไม่มาสอนกฏกันอีกรอบในโพสต์นี้นะคะ เพราะไปเปิดกันในหนังสือแกรมมาก็จะมีกันอยู่แล้ว วันนี้จะมาเสนอ hack ที่ใช้กันที่มหาวิทยาลัยที่อเมริกา ก็คือ article usage flowchart ง่ายๆเลยคือก็ไล่ไปตามflowchartมันก็จะบอกว่าเราต้องใช้อะไร