จำยังไงให้เหมือนผู้เชี่ยวชาญ (2)
อีกตัวอย่างหนึ่งของความจำที่แตกต่างกันของคนเก่งกับคนเพิ่งเริ่ม ก็คือ เซียนหมากรุกคะ ถ้าถามว่าเซียนต่างกับคนเพิ่งเริ่มเล่นยังไง หลายๆคนก็อาจจะคิดว่า เซียนคงวางแผนไปไกลหลายตา กว่าคนที่เพิ่งเห็นเล่น แต่จริงๆแล้วมีคนศึกษาแล้วพบว่าเซียนก็ไม่ได้วางแผนไปไกลกว่ามือใหม่สักเท่าไหร่ แต่การจัดระบบความรู้ต่างกันคะ สำหรับคนที่เล่นเก่งแล้ว จะสามารถจำแบบ (pattern) ต่างๆของหมากรุกได้ แต่คนที่เพิ่งเริ่มเล็ก ยังมองpatternแบบนั้นไม่ออก เลยต้องมองเป็นตัวๆไป ทำให้การวางแผนไม่ซับซ้อนเท่าเซียนคะ ถ้าครูม่อนอยากเป็นเซียนหมากรุกมั่งคงต้องฝึกกันอีกนานคะ อย่าว่าแต่การจัดระบบความรู้เลย แค่ตัวความรู้เรื่องหมากรุกแทบจะเป็นศูนย์เลยคะ อ้างอิง Bruer, J. (1993).
จำยังไงให้เหมือนผู้เชี่ยวชาญ (1)
ตามหลักของ cognitive science แล้ว การเรียนรู้ก็คือการเปลี่ยนสถานะ จากผู้เริ่มต้น (novice) ให้กลายเป็นผู้เชี่ยวชาญ (expert) อย่างหนึ่งที่ผู้เชี่ยวชาญต่างกับผู้เริ่มต้นก็คือ มีความรู้เยอะกว่า ใช่ไหมคะ แต่มันไม่ใช่แค่นั้น สิ่งที่สำคัญคือ การจัดระบบความรู้ คะ ผู้เชี่ยวชาญจะมีการมองข้อมูลต่างกับผู้เริ่มต้น คนที่เก่งแล้วจะมีการจัดความรู้เป็นก้อนๆ (chunk) แทนที่จะจำเป็นหน่วยย่อยๆ ยกตัวอย่างเช่น ถ้าคนที่เพิ่งเรียนภาษาอังกฤษใหม่ แล้วได้ฟังบทความ แล้วต้องจำ ก็จะจำเป็นตัวอักษร
ศึกษาหาความรู้แบบไหนดีที่สุด?
วันนี้ได้เรียนความหมายของการเรียนรู้มากขึ้น ในภาษาอังกฤษจะมีการใช้คำว่า acquisition เช่น second language acquisition (การเรียนจนได้ภาษาที่สอง) knowledge acquisition (การเรียนจนได้ความรู้) ถ้าแปลภาษาไทยไม่ถูกต้องขออภัยจริงๆนะคะ เพราะไม่รู้ว่าจะใช้ภาษาไทยว่าอะไรจริงๆ เอาเป็นว่า acquisition เนี่ยจะให้ความหมายประมาณว่า ได้ “รับ”ความรู้มา มีคน”ส่ง”ความรู้มาให้ คือความหมายจะpassive คล้ายๆกับว่าการเรียนคือการรับความรู้มาจากครูอาจารย์ อะไรประมาณนั้นแหละคะ ส่วน อีกแบบคือ construction
เงินซื้อความสุขได้ไหม
ที่คนเราตั้งใจเรียนหนังสือ หางานดีๆทำ นอกจากจะเพื่อที่จะได้ทำสิ่งที่ชอบแล้ว เหตุผลหลักก็คือ หาเงินมาใช้นั่นแหละ เรามักจะคิดกันว่า ถ้าเรามีเงินเยอะๆ ชีวิตก็คงจะดี สบาย มีความสุข แล้วจริงๆแล้วมันเป็นอย่างนั้นหรือเปล่านะ ยังไงๆ เงินก็ถือเป็นสิ่งสำคัญในการดำรงชีวิต ถ้าเรามีเงินมากพอ ก็สามารถทำให้เรามีอิสระในการเลือกทำสิ่งต่างๆได้ จากงานวิจัยของ Angus Deaton & Daniel Kahneman ซึ่งเป็นผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ พวกเขาพบว่าความสุขในชีวิิตประจำวันจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆตามรายได้ที่เพิ่มขึ้น แต่จะมาหยุดที่จุดจุดหนึ่ง คือ
อิทธิพลของสื่อ (2)
ไม่ใช่แค่เรื่องการเมืองนะคะ เรื่องชาตินิยมก็เจอเยอะ กีฬาเนี่ยแหละเป็นตัวส่งเสริมชาตินิยมเป็นอย่างดี อาจารย์เล่าให้ฟังว่าเขาไปอยู่เยอรมันนี ตอนที่มีจัดฟุตบอลโลก ตามถนนหนทางมีแต่คนโบกธงชาติ ร้องเพลงชาติบ้าง แต่หน้าด้วยธงเยอรมันบ้าง ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ได้เห็นในเยอรมันอย่างนี้มานานแล้ว หรือเช่นการจัดโอลิมปิกที่เมืองจีน ก็เป็นโอกาสที่จีนใช้สื่อทั่วโลกในการเผยแพร่ประเทศเขาโดยผ่านพิธิเปิดและปิดที่สื่อให้ถึงความเป็นประเทศจีน อย่างวัฒนธรรมการเป็นอยู่ในชีวิตประจำวัน ถ้าเป็นอเมริกา จะเห็นว่าหนังหรือทีวีส่วนมากจะให้คนที่ประสบความสำเร็จทางธุรกิจเป็นตัวเอก เป็นการหล่อหลอมชีวิตแบบอเมริกันว่าความสำเร็จเป็นสิ่งสำคัญ ต้องมีบ้าน มีรถ มีครอบครัว เรียกว่า American dream แต่ถ้าเป็นในประเทศอื่นก็จะต่างออกไป อาจารย์ของครูม่อนชี้ให้เห็นว่าอย่างอังกฤษเขาก็จะเน้นความเป็นผู้ดี ถ้าเป็นฝรั่งเศสก็จะเน้นเรื่องความเป็นเลิศทางอาหาร ศิลปะ
อิทธิพลของสื่อ (1)
วันนี้ได้สัมผัสกับพลังอิทธิพลของสื่อ อาจารย์ที่คณะเสนอแนะให้เราคิดกันว่าสื่อมีผลต่อประเทศ และโลกขนาดไหน พวกเราก็รู้กันอยู่แล้วว่าสมัยก่อน สังคมจะขึ้นอยู่กับครอบครัว วัด โบสถ์ ชุมชนใกล้เคียง สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งหล่อหลอมคนในชุมชนขึ้นมา แต่ปัจจุบันนี้ เราคงปฏิเสธไม่ได้ว่า สื่อ กลับเป็นสิ่งที่มีอิทธิพลมากที่สุด ตั้งแต่เล็กจนโต พวกเราโตมากับสื่อทั้งนั้น ทีวี วีดีโอ โฆษณา ภาพยนตร์ เพลง แต่เราไม่ค่อยได้คิดกันเท่าไหร่ว่าตัวเราที่เป็นอยู่ สิ่งที่เราคิด ความเชื่อที่เราเชื่อ และสิ่งที่เราทำ ได้รับอิทธิพลจากสื่อมากแค่ไหน