นิสัย 3 อย่างที่ทำให้เก่งภาษา
ช่างสังเกต ไม่ว่าจะไปเที่ยวหรืออยู่เมืองไทย ถ้าเราช่างสังเกต เราจะได้เรียนรู้อะไรใหม่ๆเยอะเลย แถมยังสนุกด้วย สังเกตป้ายตามถนน ป้ายโฆษณา มีภาษาให้เราเรียนเยอะแยะไปหมด ไม่ต้องตั้งใจเรียนก็ยังได้ความรู้ค่ะ
ช่างสังเกต ไม่ว่าจะไปเที่ยวหรืออยู่เมืองไทย ถ้าเราช่างสังเกต เราจะได้เรียนรู้อะไรใหม่ๆเยอะเลย แถมยังสนุกด้วย สังเกตป้ายตามถนน ป้ายโฆษณา มีภาษาให้เราเรียนเยอะแยะไปหมด ไม่ต้องตั้งใจเรียนก็ยังได้ความรู้ค่ะ
ถ้าใครจะซิ่วหรือจะเปลี่ยนสาขาการเรียน เรามักจะคิดกันไม่ตกว่าจะซิ่วดีไม่ดี เราจะตัดสินใจอย่างไรดี ครูม่อนมีหลักการที่ได้จากประสบการณ์ส่วนตัวมาบอกค่ะ ครูม่อนลาออกจากหมอแล้วไปเรียนต่อศึกษาศาสตร์ จากประสบการณ์แล้วต้องถามตัวเองค่ะว่าเป็นคนแบบไหน เป็นประเภท high achiever คือมีความทะเยอทะยานสูง
งานกลุ่มอีกแล้วเหรอ? ทำไมครูต้องสั่งงานกลุ่มอีกแล้ว ขี้เกียจทำแทนเจ้าคนที่อู้ ขี้เกียจนัดนอกเวลาเรียน แต่ว่าคุณครูเขามีเหตุผลดีๆที่จะสั่งงานกลุ่มให้นักเรียนทำกันนะคะ 1. นักเรียนได้”สร้าง”ความรู้เอง หมายถึงว่า มีคำถามให้ช่วยกันคิดช่วยกันทำ แล้วนักเรียนก็ได้เรียนรู้จากการสร้างความรู้เอง
ครูม่อนสังเกตเห็นว่าในบล็อคมีคนอ่านเรื่องการเรียนภาษาอังกฤษเยอะมาก ครูม่อนก็อยากเขียนให้อ่านกันอีก แต่ไม่่แน่ใจว่า ผู้อ่านอยากอ่านแนวไหนกันแน่ อยากได้เป็นวิธีการเรียน หรืออยากได้เป็นเนื้อหาเป็นตอนๆไป หรือว่าอยากได้การเตรียมตัวสอบต่างๆ ใครมีข้อเสนอแนะอะไรก็คอมเมนต์ได้เลยนะคะ หรือถ้าคิดไม่ออกว่าจะเสนออะไร ก็ตอบแบบสอบถามข้างล่างก็ได้คะ
ถึงแม้ว่าความเชี่ยวชาญในด้านนึง จะไม่ได้ทำให้เชี่ยวชาญในอีกด้านนึงเสมอไป แต่เราก็คงเคยเห็นคนที่เรียนหนังสือเก่งๆ แล้วมักจะไม่ได้เก่งวิชาเดียว แต่เก่งเกือบทุกวิชา ทำไมถึงเป็นอย่างนั้นล่ะ? Metacognition เป็นทักษะทั่วไป(ไม่เฉพาะสาขา) ที่เราใช้ในการเรียนหรือการแก้ปัญหา เช่น
ถ้ารู้ด้วย common sense ว่าคนเก่งอีกด้านไม่จำเป็นต้องเก่งอีกด้านเสมอไป แต่เราก็ยังเชื่อว่าการเล่นปัญหาปริศนาจะทำให้เราฉลาดได้ ครูม่อนเองก็เคยคิดอย่างนั้นเหมือนกันคะ ก็เล่นไปลับสมอง ก็น่าจะเก่งขึ้น การเล่นเกมส์ปริศนาบ่อยๆ จะทำให้เราเล่นเกมส์นั้น
ก่อนที่จะเฉลยปัญหาครั้งที่แล้ว ครูม่อนจะขอทวนความจำที่ได้เขียนแนะนำเรื่องผู้เชี่ยวชาญ(expert)และมือใหม่(novice)เอาไว้แล้ว การเรียนนั้นก็คือการเปลี่ยนจากมือใหม่ให้เป็นผู้เชี่ยวชาญ โดยที่ความแตกต่างระหว่างมือใหม่และผู้เชี่ยวชาญนั้น ไม่เพียงแต่ปริมาณความรู้้ในสาขาเท่านั้น แต่ยังอยู่ที่การจัดระบบข้อมูลในสาขานั้นๆด้วย สิ่งต่อมาที่เราต้องคำนึงถึงก็คือ transfer คือการนำเอาความรู้้ที่มีอยู่ไปใช้ในสถานการณ์ใหม่ (จะเป็นในสาขาหรือต่างสาขาก็ได้)
เคยเล่นเกมส์ปัญหาเชาวน์กันไหมคะ? โดยเฉพาะตอนเด็กจะชอบเล่นแก้ปัญหาพวกนี้กัน เห็นเขาว่ากันว่าฝึกสมองดี จะได้ฉลาด ว่าแต่ว่ามันทำให้ฉลาดจริงหรือเปล่านะ? ลองคิดตามนะคะ ถ้าสมมติว่าเมืองเรากำลังตกอยู่ในภาวะวิกฤติ ขาดผู้นำดีๆ ประชาชนก็ไม่ปรองดองกัน กองกำลังทหารก็ไม่ใหญ่่เท่าเมืองศัตรู